สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระของแก่นตะวัน ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวต่างกัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพและกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระในแก่นตะวันสายพันธุ์เบอร์ 2 ที่มีระยะเวลาการเก็บเกี่ยวแตกต่างกัน คือ 14, 16, 18 และ 20 สัปดาห์ ที่ปลูกในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าแก่นตะวันมีสารฟีนอลิกเป็นองค์ประกอบอยู่ในช่วง 2.49 ถึง 4.44 mg GAE/g ตัวอย่างสด สำหรับปริมาณฟลาโวนอยด์ทั้งหมด พบว่าแก่นตะวันมีปริมาณฟลาโวนอยด์อยู่ในช่วง 21.06 ถึง 195.30 mg QE/g ตัวอย่างสด เมื่อเปรียบเทียบการสกัดด้วยตัวทำละลาย 3 ชนิด คือ น้ำ เอทานอล และอะซิโตน พบว่าการสกัดด้วยตัวทำละลายทั้ง 3 ชนิดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ≤ 0.05) โดยแก่นตะวันที่สกัดด้วยน้ำมีปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมดสูงที่สุด ตามมาด้วยการสกัดด้วยเอทานอล และอะซิโตน ตามลำดับ สำหรับการวิเคราะห์กิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระซึ่งวิเคราะห์ทั้งหมด 4 วิธี คือ กิจกรรมการต้านอนุมูล DPPH ,ABTS , Reducing power และ Ion-Chelating capacity พบว่าแก่นตะวันทั้งหมดมีความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระ โดยกิจกรรมการต้านอนุมูลอิสระมีผลที่แปรผันตรงกับปริมาณฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ทั้งหมด คือ แก่นตะวันที่มีองค์ประกอบของสารทั้ง 2 ชนิดสูงจะมีความสามารถในการยับยับยั้งอนุมูลอิสระได้ดี และจากการทดลองพบว่าแก่นตะวัน 20 สัปดาห์ มีความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว