การศึกษาผลของตะกั่วออกไซด์ต่อสมบัติโครงสร้างและสมบัติยืดหยุ่นของแก้ว ที่รีไซเคิลจากซิลิกาเจลโดยใช้เทคนิคอัลตราโซนิกและเอฟทีไออาร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการศึกษาสมบัติทางโครงสร้างและสมบัติยืดหยุ่นของแก้วรีไซเคิลซิลิกาเจล (RSG) โดยใช้เทคนิคการวัดด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอัลตราโซนิก(Ultrasonic technique) และการวัดการดูดกลืนรังสีอินฟาเรด(FTIR technique) แก้วตัวอย่างอยู่ในระบบ 10CaO – xPbO – (90–x)RSG เมื่อ x มีค่าเท่ากับ 20 25 30 35 40 และ 45 เปอร์เซ็นต์โดยโมล ซึ่งเตรียมขึ้นโดยใช้กระบวนการหลอมแล้วทำให้เย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว การวัดความหนาแน่นของแก้วตัวอย่างจะวัดโดยใช้หลักการของอาร์คิมิดีส โดยใช้เอ็นเฮกเซนเป็นของเหลวและวัดความเร็วคลื่นเสียงอัลตราโซนิกตามยาวและตามเฉือนของแก้วตัวอย่างโดยใช้วิธีพัลส์เอคโค ความถี่ 4 MHz ที่อุณหภูมิห้อง ผลที่ได้แสดงให้เห็นว่าความเข้มข้นของ PbO ทำให้สมบัติยืดหยุ่นของแก้วตัวอย่างในระบบนี้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น PbO ทำให้พันธะในโครงข่ายแก้วถูกทำลาย และส่งผลให้เกิด non-bridging oxygen (NBO) และผลที่ได้จากการวิเคราะห์แก้วตัวอย่างโดยใช้การวัดการดูดกลืนรังสีอินฟาเรดช่วยสนับสนุนผลที่ได้จากเทคนิคการวัดความเร็วคลื่นเสียงอัลตราโซนิก
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว