การศึกษารูปแบบการให้อาหารที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนการเลี้ยงปลานิลในกระชังแขวนในบ่อดิน

Main Article Content

ณรงค์ กมลรัตน์

บทคัดย่อ

การศึกษารูปแบบการให้อาหารที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลานิลในกระชังแขวนในบ่อดินดำเนินการในพื้นที่อุทยานหนองหารเฉลิมพระเกียรติ ระหว่างเดือนเมษายน 2558 ถึงเดือนสิงหาคม 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการให้อาหารที่เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนค่าอาหารปลานิลที่เลี้ยงในบ่อดิน โดยทำการศึกษาในปลานิลน้ำหนักเฉลี่ย0.15+0.22กรัม  แบ่งกลุ่มการทดลองออกเป็น กลุ่มให้อาหารทุกวันๆ ละ 2 มื้อและ 1 มื้อ กลุ่มให้อาหารเว้นวันวันละ 2 มื้อ และ 1 มื้อ ปล่อยปลา 200 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ทำการเลี้ยงเป็นระยะเวลา 4 เดือน ผลการทดลองพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าน้ำหนักเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้นของปลาแต่ละกลุ่มคือ 24.67+0.88, 20.00+2.16, 22.03+1.32 และ 22.10+4.8 กรัม ตามลำดับ ค่าอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อวัน เท่ากับ 0.2+0.01, 0.16+0.02, 0.18+0.01 และ 0.18+0.04 กรัม/วัน ตามลำดับ อัตรารอด 85.67+2.47, 86.67+4.25, 84.83+5.51 และ 85.67+2.07 เปอร์เซ็นต์ตามลำดับ ซึ่งไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P>0.05) ส่วนค่าอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ ค่าที่ได้คือ 2.77+0.16, 2.64+0.71, 1.21+0.27 และ 1.24+0.47 ตามลำดับ พบว่าแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) โดยกลุ่มที่ให้อาหารวันเว้นวันให้ค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ให้อาหารทุกวัน ผลที่ได้จากการศึกษายืนยันได้ว่าปลานิลที่ให้อาหารเว้นวันโดยให้อาหารวันละ 1-2 มื้อมีอัตราการเจริญเติบโตไม่แตกต่างจากปลานิลที่ให้อาหารทุกวัน ต้นทุนค่าอาหารปลาพบว่าการให้แบบวันเว้นวันมีต้นทุนถูกกว่า 193.50 บาท คิดเป็น 48.40% จากต้นทุนการให้อาหารแบบทุกวัน ดังนั้นรูปแบบการให้อาหารปลานิลแบบวันเว้นวันสามารถทำให้ปลานิลเจริญเติบโตได้อย่างปกติ และช่วยลดปริมาณการอาหารที่ต้องให้ปลานิลลงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย