ผลของอุณหภูมิการคั่วกระเทียม หอมแดง และพริกแห้ง ต่อฤทธิ์ในการต้านเชื้อรา Aspergillus niger
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาผลของอุณหภูมิการคั่วต่อฤทธิ์ต้านเชื้อรา Aspergillus niger ของสารสกัดจากกระเทียม (70 และ 90 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที) และหอมแดง (70 และ 90 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที) และพริกแห้ง (90 องศาเซลเซียส นาน 25 นาที) ด้วยปิโตรเลียม อีเทอร์ โดยทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้นใยด้วยวิธี agar dilution method และการงอกของสปอร์ด้วยวิธี broth dilution method (BDM) ความเข้มข้นร้อยละ 0.1, 0.5 และ 1.0 (w/v) รวมทั้งการทดสอบค่า Minimum inhibitory concentration on spore germination (MIC) และ Minimum fungicidal concentration on spore germination (MFC) ด้วยวิธี BDM พบว่า เมื่ออุณหภูมิการคั่วเพิ่มขึ้นฤทธิ์ของสารสกัดกระเทียมและหอมแดงต่อการยับยั้งการเจริญของเส้นใยและการงอกของสปอร์ลดลง ในขณะที่สารสกัดจากพริกแห้งสามารถยับยั้งได้เฉพาะการเจริญของเส้นใยเท่านั้น โดยสารสกัดจากพริกแห้งไม่คั่วยับยั้งการเจริญของเชื้อราได้ดีกว่าพริกแห้งคั่วอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้สารสกัดจากพริกแห้งไม่คั่วและคั่วมีค่า MIC (ร้อยละ 1.25 w/v) และ MFC (ร้อยละ 5.0 w/v) สูงที่สุด ซึ่งเท่ากับสารสกัดจากหอมแดงคั่วที่อุณหภูมิ 90 รองลงมาคือ สารสกัดจากหอมแดงคั่วที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส (MIC = 0.312, MFC = 5.0); หอมแดงไม่คั่ว และกระเทียมคั่วที่อุณหภูมิ 90 องศาเซลเซียส (MIC = 0.312, MFC = 1.25); กระเทียมคั่วที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส (MIC = 0.039, MFC = 0.312); และกระเทียมไม่คั่ว (MIC = 0.039, MFC = 0.078) ตามลำดับ
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว