การศึกษาสมบัติความยืดหยุ่นของกระจกหน้าต่างรีไซเคิลที่เจือด้วย คอปเปอร์(I)ออกไซด์ (Cu2O) ด้วยเทคนิคคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิกและ ฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี

Main Article Content

Y. Jaichueai
C. Bootjomchai
J. Laopaiboon
R. Laopaiboon

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยคือนี้ศึกษาโครงสร้างของกระจกหน้าต่างรีไซเคิลด้วยเทคนิคคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิกและฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี ตัวอย่างแก้วจะถูกเตรียมในระบบ 90Recycled window glass – 10Na2O – xCu2O เมื่อ x คือ 0.001, 0.01, 0.1 และ 1.0 เปอร์เซ็นต์โดยโมล โดยหลอมที่อุณหภูมิ 1250 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 4 ชั่วโมงและอบที่อุณหภูมิ 500 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากนั้นวัดความหนาแน่น ความเร็วคลื่นเสียงตามยาวและความเร็วคลื่นเสียงเฉือนของตัวอย่างแก้วด้วยเทคนิคคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิก โดยใช้หัวตรวจสอบความถี่ 4 เมกะเฮิร์ตซ์ ที่อุณหภูมิห้อง ความหนาแน่นและความเร็วคลื่นเสียงของตัวอย่างแก้วสามารถนำมาคำนวณสมบัติความยืดหยุ่นของตัวอย่างแก้วได้เช่น โมดูลัสตามยาว โมดูลัสเฉือน บัลก์โมดูลัส ยังโมดูลัส อัตราส่วนปัวซอง และความแข็งระดับไมโคร รวมไปถึงสมบัติทางกายภาพ เช่น ความต้านทานคลื่นเสียง อุณหภูมิการอ่อนตัว และอุณหภูมิเดอบาย สุดท้ายศึกษาโครงสร้างของตัวอย่างแก้วด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีในช่วงเลขคลื่นที่ 400 - 2000 ซม-1 ผลที่ได้จากการศึกษาประกอบด้วยความเร็วคลื่นเสียงอัลตร้าโซนิก โมดูลัสความยืดหยุ่น อัตราส่วนปัวซอง ความแข็งระดับไมโคร ความต้านทานคลื่นเสียง อุณหภูมิการอ่อนตัว และอุณหภูมิเดอบายจะขึ้นอยู่กับปริมาณ Cu2O ที่เจือและยืนยันผลด้วยฟูเรียร์ทรานสฟอร์มอินฟราเรดสเปกโทรสโกปี


 

Article Details

บท
บทความวิจัย