การเปรียบเทียบวิธีวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระโดยเทคนิคเชิงภาพ กับวิธีไมโครเพลสดีพีพีเอช

Main Article Content

สุวรรณา วรรัตน์
วันชัย อินทรพิทักษ์
วธู พรหมพิทยารัตน์

บทคัดย่อ

การพัฒนาวิธีการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วิธีรงคเลขผิวบางโดยใช้กระดาษด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงภาพโดยใช้หลักการแยกสารบนตัวกลางกระดาษจากนั้นทำให้สารเกิดปฏิกิริยากับ 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl (DPPH) บนตัวกลางกระดาษ แล้วสแกนภาพและแปลผลด้วยโปรแกรม Adobe photoshop CS2 และเปรียบเทียบกับวิธี DPPH-Microplate assay เพื่อได้มาซึ่งวิธีวิเคราะห์สารที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการเทียบวิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาโดยใช้สารมาตรฐานวิตามินซี (Ascorbic acid) พบว่ามีความเป็นเส้นตรง ความถูกต้อง แม่นยำ และมีความสามารถในการตรวจวัดสารได้เป็นไปตามข้อกำหนด International Conference of Harmonization (ICH) guideline [9] แสดงค่าความเป็นเส้นตรง Y = 8266.6x-133.01 ที่ช่วงความเข้มข้นที่ 75-175 µg/ml มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r2= 0.9962) ปริมาณต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ (LOD) และปริมาณต่ำสุดที่วิเคราะห์ได้ (LOQ) คือ 0.009 และ 0.03 µg/spot ตามลำดับ การทดสอบความเที่ยงของการวิเคราะห์ซ้ำในช่วงเวลาเดียวกันและวิเคราะห์ต่างวันเวลากันมีค่าสัมประสิทธ์ความแปรปรวน (%RSD) คือ 2.29 ถึง 5.53% และ 2.95 ถึง 4.19% ตามลำดับ ความแม่นของวิธีให้ค่าร้อยละการคืนย้อนกลับของสารอยู่ในช่วง 101.50 ถึง104.67% และผลค่า IC50 ของวิธีเทคนิคเชิงภาพมีค่าเท่ากับ 102.27 ± 2.97 µg/ml คำนวณจากโปรแกรม Graphpad prism 5 มีค่าสหสัมพันธ์ของวิธีการที่พัฒนากับวิธีมาตรฐาน DPPH scavenging assay-microplate, r2 = 0.9892 วิธีที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวัดหาปริมาณสารได้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนดให้ค่ามีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ เป็นวิธีการตรวจวัดสารต้านอนุมูลอิสระ
ที่ใช้ต้นทุนต่ำ ปลอดภัย สะดวกกับการทดสอบในภาคสนาม ข้อจำกัดของวิธีคือการควบคุมขนาดของการจุดสารบนกระดาษขนาดและขอบเขตมีผลต่อการเกิดปฏิกิริยา อีกทั้งสารที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระที่มีสี เนื่องจากไปรบกวนการอ่านค่าพิกเซลด้วยโปรแกรม  Adobe Photoshop CS2

Article Details

บท
บทความวิจัย