การใช้ใบย่านางและขมิ้นชันเพื่อเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระในกระบวนการผลิตหน่อไม้อบแห้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการอบหน่อไม้ที่อุณหภูมิ 60 องศาเซลเซียส หาปริมาณฟีนอลิกรวม และศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของผลิตภัณฑ์หน่อไม้อบแห้ง ผลการศึกษา พบว่าหน่อไม้ที่ผ่านการอบเป็นเวลา 5 ชั่วโมงมีผลทำให้ได้ค่าวอเตอร์แอคติวิตีมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.136/2558) โดยงานวิจัยนี้มีค่าเท่ากับ 0.58 การหาปริมาณฟีนอลิกทั้งหมดโดยวิธี Folin–Ciocalteu พบว่าผลิตภัณฑ์หน่อไม้อบแห้งทั้งหมดมีค่าปริมาณฟีนอลิกรวม ในช่วง 39.39 ± 0.37 ถึง 71.39 ± 4.77 mg GAE/100g โดยหน่อไม้อบแห้งที่ผ่านการแช่ขมิ้น 3 ชั่วโมงมีค่าสูงที่สุด (71.39 ± 4.77mg GAE/100g) ผลการศึกษาความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH และ ABTS พบว่า ร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระโดยวิธี DPPH ผลิตภัณฑ์หน่อไม้อบแห้ง อยู่ในช่วงร้อยละ 22.17 - 96.16 ร้อยละการยับยั้งอนุมูลอิสระโดยวิธี ABTS อยู่ในช่วงร้อยละ 46.26 - 91.51 ความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระร้อยละ 50 (IC50) โดยวิธี DPPH และ ABTS พบว่าหน่อไม้อบแห้งทั้งที่ผ่านการแช่ขมิ้นและใบย่านางมีประสิทธิภาพต่ำกว่าสารมาตรฐานแกลลิกและเคอร์ซิติน (22.21 และ 24.90 µg/mL) โดยผลิตภัณฑ์หน่อไม้อบแห้งที่ผ่านการแช่ขมิ้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง มีความสามารถในการยับยั้งอนุมูลอิสระร้อยละ 50 (IC50) โดยวิธี DPPH และ ABTS เท่ากับ 8,251.25 และ 1,386.00 µg/mL ผลิตภัณฑ์หน่อไม้อบแห้งที่ผ่านการแช่ใบย่านางเป็นเวลา 3 ชั่วโมง มีค่า IC50 โดยวิธี DPPH และ ABTS เท่ากับ 8,184.80 และ 1,553.00 µg/mL
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว