สมบัติเชิงกลของวัสดุผสมเถ้าลอย/ยางคอมปาวด์ที่ประยุกต์ใช้สำหรับยางรถอุตสาหกรรม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมบัติเชิงกลของยางคอมปาวด์ที่ใช้เถ้าลอยเป็นสารตัวเติมแทนเขม่าดำสูตรต้นแบบซึ่งเป็นสูตรที่เหมาะสมในการผลิตยางคอมปาวด์ ออกแบบสูตรการทดลองโดยลดสัดส่วนการใช้เขม่าดำ จากสูตรต้นแบบลง 3 ระดับ คือ 5 10 และ15 phr ทดแทนด้วย ดินขาว และ เถ้าลอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Kruskal Wallis Test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสมบัติเชิงกลของยางคอมปาวด์สูตรต้นแบบกับสูตรทดสอบ และเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลของยางคอมปาวด์สูตรทดสอบกับยางรถอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยโมดูลัส และค่าความต้านทานแรงฉีกขาด ของสูตรต้นแบบแตกต่างจากสูตรทดสอบ สูตรที่ ใช้เขม่าดำ 35 phr เถ้าลอย 15 phr ใช้เขม่าดำ 30 phr ดินขาว 10 phr เถ้าลอย 10 phr และใช้ เขม่าดำ 25 phr ดินขาว 10 phr เถ้าลอย 15 phr อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับสมบัติการยืดตัว พบว่า สูตรต้นแบบไม่แตกต่างกับสูตรทดสอบทุกสูตร และค่าเฉลี่ยความเค้น สูตรที่ ใช้เขม่าดำ 35 phr เถ้าลอย 15 phr ใช้เขม่าดำ 30 phr ดินขาว 10 phr เถ้าลอย 10 phr แตกต่างจากสูตรต้นแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลของยางรถอุตสาหกรรมกับสูตรทดสอบ พบว่าสูตรที่ใช้เถ้าลอยในสัดส่วน 5 10 และ 15 phr และสูตรที่ ใช้เถ้าลอย 5 phr ร่วมกับดินขาว 10 phr แทนเขม่าดำ เป็นสูตรที่เหมาะสมสำหรับการผลิตยางรถเทรเลอร์ TD202
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว