ผลจากการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับน้ำหมักชีวภาพต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกระเจี๊ยบเขียว ผักกาดหัว และคะน้า

Main Article Content

วีณา นิลวงศ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืช ผัก 3 ชนิด ที่ปลูกแบบหมุนเวียน ได้แก่ กระเจี๊ยบเขียว ผักกาดหัว และคะน้า  วางแผนการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ภายในบล็อค (RCBD) จำนวน 12 ตำรับการทดลอง 3 ซ้ำ ได้แก่ (1) ควบคุม ; NF (2) น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ; BV (3) น้ำหมักปลา ; BF (4) ปุ๋ยค้างคาว ; GN (5) ปุ๋ยค้างคาว+น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ; GN+BV (6) ปุ๋ยค้างคาว+น้ำหมักปลา ; GN+BF (7) ปุ๋ยหมัก ; CP (8) ปุ๋ยหมัก+น้ำหมักมูลไส้เดือนดิน ; CP+BV (9) ปุ๋ยหมัก+น้ำหมักปลา ; CP+BF (10) ปุ๋ยมูลไก่ ; CK (11) ปุ๋ยมูลไก่+น้ำหมักมูลไส้เดือน ; CK+BV (12) ปุ๋ยมูลไก่+น้ำหมักปลา ; CK+BF จากการศึกษาพบว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆ มีผลต่อการเจริญเติบโต (p<0.05) และผลผลิต (p<0.05) ของกระเจี๊ยบเขียว ผักกาดหัว และคะน้า  โดยปุ๋ยอินทรีย์และน้ำหมักชีวภาพแต่ละชนิดส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของกระเจี๊ยบเขียว ผักกาดหัว และคะน้าแตกต่างกันออกไป การใช้ปุ๋ยมูลไก่ร่วมกับน้ำหมักมูลไส้เดือนดินทำให้กระเจี๊ยบเขียวมีผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 2,202.6 กิโลกรัมต่อไร่ ในขณะที่การใส่ปุ๋ยค้างคาวร่วมกับน้ำหมักมูลไส้เดือนดินทำให้ผักกาดหัวมีความยาวหัวมากที่สุดเท่ากับ 17.8 เซนติเมตร และน้ำหนักผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 1,386.7 กิโลกรัมต่อไร่ และการใส่ปุ๋ยหมักร่วมกับน้ำหมักมูลไส้เดือนดินทำให้คะน้ามีผลผลิตสูงที่สุดเท่ากับ 799.9 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งจากการทดลองครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชนิดต่างๆร่วมน้ำหมักชีวภาพส่งผลต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชทั้งสามชนิดมากกว่าการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว

Article Details

บท
บทความวิจัย