ถ่านแกลบและถ่านแกลบที่ใช้ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพด ที่ปลูกในดินทรายและดินลูกรัง

Main Article Content

สมชาย บุตรนันท์
จนิสตา ดวงภักดี
เอกชัย ชั้นน้อย
พิจิกา ทิมสุกใส
บรรยง ทุมแสน
ปัทมา วิตยากร

บทคัดย่อ

การใช้ถ่านแกลบเป็นวัสดุปรับปรุงดินมีศักยภาพในการปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินลูกรังและดินทรายที่เสื่อมโทรม
จึงได้ดำเนินการทดลองจำนวน 2 การทดลองภายใต้สภาพโรงเรือน เพื่อประเมินอิทธิพลของถ่านแกลบและการใช้ถ่านแกลบร่วมกับปุ๋ยชนิดอื่น ๆ ที่มีการใช้โดยทั่วไป ซึ่งประกอบด้วย ปุ๋ยเคมี มูลวัว และปุ๋ยหมัก ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของข้าวโพดหวานที่ปลูกในดินลูกรังและดินทราย ในดินลูกรังพบว่าถ่านแกลบทำให้น้ำหนักแห้งของส่วนเหนือดินของข้าวโพด (2.77 กรัมต่อกระถาง) มากกว่าดิน
ที่ไม่ได้รับสารปรับปรุงดิน (0.40 กรัมต่อกระถาง) และถ่านแกลบทำให้น้ำหนักแห้งของข้าวโพดไม่แตกต่างจากการใช้ปุ๋ยเคมี (3.41 กรัมต่อกระถาง) น้ำหนักแห้งของข้าวโพดที่ได้รับมูลวัว (1.14 กรัมต่อกระถาง) ไม่แตกต่างจากข้าวโพดที่ปลูกในดินที่ไม่ได้รับสารปรับปรุงดิน ในดินทรายพบว่าการใช้ปุ๋ยชนิดต่าง ๆ ร่วมกับถ่านแกลบทำให้น้ำหนักแห้งส่วนเหนือดินของข้าวโพดมากกว่าการใช้ปุ๋ยชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงอย่างเดียว นั่นคือ การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับถ่านแกลบทำให้ข้าวโพดมีน้ำหนักแห้ง 9.25 กรัมต่อกระถาง แต่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวทำให้ข้าวโพดมีน้ำหนักแห้ง 6.99 กรัมต่อกระถาง และการใช้มูลวัวร่วมกับถ่านแกลบทำให้ข้าวโพดมีน้ำหนักแห้ง 4.22 กรัมต่อกระถาง
แต่การใช้มูลวัวเพียงอย่างเดียวทำให้ข้าวโพดมีน้ำหนักแห้ง 2.18 กรัมต่อกระถาง ส่วนในกรณีของปุ๋ยหมักในดินทรายไม่พบความแตกต่างระหว่างการใช้ปุ๋ยหมักร่วมกับถ่านแกลบ (4.32 กรัมต่อกระถาง) กับการใช้ปุ๋ยหมักเพียงอย่างเดียว (4.25 กรัมต่อกระถาง) กลไกการตอบสนองทั้งด้านลบและด้านบวกของพืชต่อถ่านแกลบและต่อปุ๋ยอินทรีย์และปุ๋ยเคมีได้อภิปรายเอาไว้ในบทความนี้ ในการวิจัยต่อไปควรมีการศึกษาการใช้ถ่านร่วมกับปุ๋ยเคมีในอัตราที่แตกต่างกันทั้งนี้เพื่อลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี

Article Details

บท
บทความวิจัย