การประเมินมาตรฐานห้องส้วมและการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย ในห้องส้วมสาธารณะ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาการประเมินมาตรฐานห้องส้วมสาธารณะโดยใช้ แบบประเมินมาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) ภายในห้องส้วมชาย-หญิง 30 จุด ใน 15 พื้นที่ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น (SI-2) 165 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ก๊อกอ่างล้างมือ สายฉีดชำระ ลูกบิดหรือกลอนประตู ฝารองนั่งชักโครก ที่กดชักโครก และที่กดโถปัสสาวะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา โดยใช้จำนวนและร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ห้องส้วมทั้งหมดไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศ (HAS) โดยด้านความสะอาด ด้านความเพียงพอ ด้านความปลอดภัย ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 100.0 53.3 และ 40.0 ตามลำดับ ส่วนการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย พบว่า ห้องส้วมหญิงมีการปนเปื้อนมากกว่าห้องส้วมชาย โดยห้องส้วมหญิงพบการปนเปื้อนที่ ฝารองนั่งชักโครก และที่กดชักโครก คิดเป็นร้อยละ 86.7 สายฉีดชำระ และก๊อกอ่างล้างมือ คิดเป็นร้อยละ 60.0 ส่วนห้องส้วมชายพบการปนเปื้อนที่ ฝารองนั่งชักโครก สายฉีดชำระ ที่กดชักโครก คิดเป็นร้อยละ 86.7 73.3 และ 46.7 ตามลำดับ ดังนั้น ผู้ดูแลควรต้องเน้นจุดทำความสะอาด โดยเฉพาะบริเวณฝารองนั่งชักโครก ที่กดชักโครก สายฉีดชำระ และก๊อกอ่างล้างมือ เป็นประจำ พร้อมทั้งจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการในห้องส้วมอย่างเพียงพอ เพื่อลดการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรค และเพื่อสุขอนามัยของผู้ใช้บริการห้องส้วมต่อไป
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว