การประยุกต์วิธีการสำรวจด้วยคลื่นสั่นสะเทือนเพื่อประเมินสภาพเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ณรงค์ชัย วิวัฒนาช่าง
ชนะรบ วิชาลัย
อรวรรณ จันทสุทโธ
ณรงค์เดช ยังสุขเกษม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ใช้เทคนิคคลื่นสั่นสะเทือนในการสำรวจประเมินสภาพธรณีวิทยาและโครงสร้าง เขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งเป็นเขื่อนแกนดินเหนียวที่ถูกสร้างขึ้นจากการบดอัดดินให้มีความหนาแน่นสูง มีอายุการใช้งานนานว่า 30 ปี ขั้นตอนการศึกษา เริ่มต้นจากการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการสำรวจ การสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลภาคสนาม และการประมวลผลการสำรวจ การบันทึกข้อมูลภาคสนามด้วยอุปกรณ์บันทึกสัญญาณคลื่น Geode24 และอุปกรณ์รับคลื่นสั่นสะเทือนความถี่ 28 Hz ที่เชื่อมต่อกับชุดสายรับสัญญาณแบบเคลื่อนที่ได้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจถูกนำมาประมวลผลด้วยวิธี Pre-Stack Time Migration (PSTM) จากผลการศึกษาพบว่าคลื่นสั่นสะเทือนที่ได้จากฆ้อนสามารถให้ความลึกในการสำรวจประมาณ 60-70 เมตร และเป็นช่วงความถี่ต่ำ ดังนั้นสามารถจัดแบ่งชั้นวัสดุทางธรณีวิทยาออกเป็น 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นแรกคือชั้นวัสดุระดับตื้น พบว่าความเร็วคลื่นสั่นสะเทือนอยู่ระหว่าง 400-800 เมตร/วินาที แสดงให้เห็นถึงชั้นดินบดอัดที่ใช้เป็นโครงสร้างเขื่อน และชั้นที่สองคือชั้นวัสดุระดับลึก พบว่ามีความเร็วคลื่นอยู่ระหว่าง 900-1,200 เมตร/วินาที แสดงถึงชั้นดินหรือหินที่ได้รับการปรับปรุงด้วยการอัดฉีดน้ำปูน ตลอดจนชั้นหินฐาน ซึ่งเป็นส่วนฐานรากของเขื่อน

Article Details

บท
บทความวิจัย