Electrospinning of Polycaprolactone and Polylactide Blends: Thermal, Mechanical and Biodegradable Properties
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของวัสดุผสมพอลิคาโปรแลคโตน (PCL) และพอลิแลคไทด์ (PLA) ต่อสมบัติทาง
ความร้อน ทางกล และการย่อยสลาย โดยการทำเส้นใยขนาดไมโครเมตรด้วยกระบวนการอิเล็กโทรสปินนิ่งซึ่งสามารถใช้ในอุตสาหกรรมและทางการแพทย์ได้ โดยพอลิคาโปรแลคโตน (PCL) และพอลิแลคไทด์ (PLA) ถูกละลายในคลอโรฟอร์มที่ 10% โดยน้ำหนัก ซึ่งอัตราส่วน PLA / PCL คือ 100/0, 90/10, 70/30, 50/50, 30/70, 10/90 และ 0/100 หลังจากละลายแล้วก็นำไปทำเป็นเส้นใยด้วยกระบวนการอิเล็กโทรสปินนิ่ง โดยมีปัจจัยที่มีค่าเหมาะสมคือ ระยะห่างระหว่างหลอดที่บรรจุสารละลายพอลิเมอร์กับวัสดุรองรับ 15 เซนติเมตร แรงดันไฟฟ้า 15 กิโลโวลต์ และอัตราการไหล 1 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง นอกจากนี้การย่อยสลายในดินและลักษณะทางสัณฐานวิทยาพบว่าเมื่อเพิ่มปริมาณของพอลิคาโปรแลคโตนในพอลิแลคไทด์ จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพทางความร้อน ระยะยืดเพิ่มขึ้น ขนาดของเส้นใยมีขนาดใหญ่ขึ้น สามารถย่อยสลายได้ไว และช่วยลดความแข็งเปราะของพอลิแลคไทด์ลงได้
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
of polymer blend/bioglass® composite for bone tissue engineering application. M.Eng. Thesis, Silpakorn University. (in Thai)
[2] Thitipong Wutisart (2013). Improve mechanical properties and morphology of pbs by pbs/pci reactive blending. M.S. Thesis, Silpakorn University. (in Thai)
[3] Amornrat Lertworasirikul (2011). Poly(lactic acid): polyester from renewable resources. Kasetsart Engineering Journal (Thailand). Vol. 24 No. 77 Pages 99-110
[4] Rujitanaroj, P and et al. (2008). Wound-dressing materials with antibacterial activity from electrospun gelatin fiber mats containing silver nanoparticles. Polymer. vol 49: 4723-4732.
[5] Premraj R and Mukeesh Docle. (2005). Biodegradation of polymer. Indian Journal of Biotechnology. vol 4, pp 186-19
[6] Luu, Y.K. and et al. (2003). Development of a nanostructured DNA delivery scaffold via electrospinning of PLGA and PLA-PEG block copolymers. J. Control. vol 89: 341–353.
[7] Dassakron, A and Srithep, Y. 2018. Production of Microfibers from Polylactide Stereocomplex by
Electrospinning Process. Mahasarakham University Research Conference. 13: 179-185. (in Thai)