สมบัติทางกายภาพของยางโฟมธรรมชาติเสริมแรงด้วยเส้นใยตาล

Main Article Content

Kanokwan Yantaboot

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงพื้นผิวของเส้นใยตาล และศึกษาผลปริมาณของเส้นใยตาล ต่อสมบัติทางกายภาพของวัสดุคอมพอสิตยางโฟมธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเส้นใยตาล การปรับปรุงพื้นผิวของเส้นใยตาลใช้สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ปรับเปลี่ยนความเข้มข้นเป็นร้อยละ 0 5 10 และ 20 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร เวลาที่ใช้ในการปรับปรุงพื้นผิวเส้น
ใยตาล คือ 1 ชั่วโมง การวิเคราะห์หาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการปรับปรุงพื้นผิวเส้นใย พิจารณาจาก ค่าอัตราส่วนระหว่างความยาวของเส้นใย ต่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง (L/D) และลักษณะสัณฐานวิทยาของเส้นใยจากผลการทดลอง ผลการศึกษาพบว่า ค่าอัตราส่วน (L/D) ของเส้นใยมีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อความเข้มข้นของสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เพิ่มขึ้น แต่ที่ความเข้มข้นร้อยละ 20 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร เส้นใยตาลขาดง่าย ดังนั้นความเข้มข้นที่เหมาะสมที่สุด คือ ร้อยละ 10 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ความหนาแน่นของวัสดุคอมพอสิตยางโฟมธรรมชาติมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เมื่อปริมาณเส้นใยตาลเพิ่มขึ้น ร้อยละการยุบตัวจากแรงอัดของวัสดุมีค่าลดลง เมื่อปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้น และสัณฐานวิทยาวัสดุคอมพอสิตยางโฟมธรรมชาติ ศึกษาจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราด พบว่า เส้นใยจะแทรกตัวอยู่ระหว่างเซลล์โฟม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Kengkhetkit, N. and Amornsakchai. T. 2012. “Utilisation of pineapple leaf waste for plastic reinforcement: 1. A novel extraction method for short pineapple leaf fiber.” Industrial Crops and Products. 40 : 55-61.
[2] Saheb, D. N., and Jog, J. P. 1999. “Natural fiber composites A review.” Advances in Polymer Technology. 18: 351-363.
[3] Sakdapipanich, J. 2010. Natural Rubber and Technology. 1st , Bangkok: TechnoBiz Communications Co., Ltd.
[4] Ismail, H., Rosnah, N., and Rozman, HD. 1997. “Effect of various bonding systems on mechanical properties of oil palm fibre reinforced rubber composites.” European Polymer Journal. 8: 1232-1238.
[5] Nopparut, A., and Amornsakchai, T. 2016. “Influence of pineapple leaf fiber and it’s surface treatment on molecular orientation in, and mechanical properties of, injection molded nylon composites”. Polymer Testing. 52: 141-149.
[6] Bisanda ETN. 2000. “The effect of alkali treatment on the adhesion characterization of sisal fibres”. Applied Composite Materials. 7: 331-339.
[7] John, MJ And Anandjiwala, RD. 2008. “Recent developments in chemical modification and characterization of natural fibre-reinforced composites”. Polymer Composites. 29(2): 187-207.
[8] EI-Shekeil, Y.A., and et. al. 2012. “Effect of Alkali Treatment on Mechanical and Thermal Properties of Kenaf Fiber-reinforced Thermoplastic Polyurethane Composite”. Journal of Thermal Analysis and Calorimetry. 109: 1435-1443.
[9] Piyawan S. 2000. Cassava Starch-Natural Rubber Blends as Shock Absorbing Foam. M.Sc. Thesis, Chulalongkorn University.