ก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารโดยกระบวนการหมักแบบไร้ออกซิเจน

Main Article Content

วัฒนณรงค์ มากพันธ์
อุดม ทิพย์รักษ์
ทศพล แสนศรี
ศักดินันท์ แก้วดำ
วรรธนศักดิ์ สุขสง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร 3 ประเภท ได้แก่ โปรตีน (เนื้อสัตว์), วิตามิน (ผักผลไม้) และคาร์โบไฮเดรต (ข้าว) ในชุดถังหมักขนาด 20 ลิตร ดังนี้ ถังหมักโปรตีน ถังหมักวิตามิน และถังหมักคาร์โบไฮเดรต ทำการศึกษาก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร โดยกระบวนการหมักแบบไร้ออกซิเจน ระยะเวลาทดลอง 42 วัน ที่อุณหภูมิแวดล้อมปกติ ซึ่งก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นถูกเก็บไว้ในถังเก็บก๊าซ วัดปริมาตรก๊าซด้วยการแทนที่น้ำ และนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบก๊าซชีวภาพด้วยเครื่องก๊าซโครมาโตกราฟี (Gas Chromatography : GC) ผลการศึกษา พบว่า ถังหมักที่ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ดีที่สุด คือ ถังหมักโปรตีน (เนื้อสัตว์: มูลสุกร : กากน้ำตาล : น้ำ) อัตราส่วนระหว่าง 3:1:1:10 โดยปริมาตร ซึ่งให้ปริมาณก๊าซชีวภาพมากที่สุด  8.8077×10-4 ลูกบาศก์เมตร และมีองค์ประกอบก๊าซมีเทนเฉลี่ย 13.70 เปอร์เซ็นต์ ถือได้ว่าเศษอาหาร เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างพลังงานในรูปของก๊าซมีเทน (CH4) ได้

Article Details

บท
บทความวิจัย