การวัดระดับความเข้มของสีเมล็ดกาแฟ โดยใช้การประมวลผลภาพแบบฮิสโทแกรม สำหรับการแบ่งระดับเกรดของการคั่วเมล็ดกาแฟ

Main Article Content

เสกสรร วินยางค์กูล

บทคัดย่อ

การพัฒนาและปรับปรุงการวัดระดับความเข้มของสีเมล็ดกาแฟในการแบ่งระดับเกรดในการคั่วกาแฟ โดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์ประมวลผลโดยการนำรูปภาพมาหาค่าพิกเซลด้วยกระบวนโดยใช้การประมวลผลภาพแบบฮิสโทแกรมเพื่อใช้ในการตัดสินใจของการแบ่งระดับความเข้มของสีเมล็ดกาแฟในระดับต่างๆที่ต้องการ จากการผลิตแบบเดิมนั้นต้องใช้แรงงานคนที่มีความชำนาญหรือผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบระดับสี ทำให้เสียเวลาที่จะต้องมีการตรวจสอบตลอดเวลา ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบที่ใช้ในการเปรียบเทียบค่าสีความเข้มของเมล็ดกาแฟ โดยการระบุค่าสีมาตรฐานความเข้มของสีเมล็ดกาแฟคั่วแต่ละระดับไว้ และนำเมล็ดกาแฟที่อยู่ในขั้นตอนกระบวนการคั่วนำมาเปรียบเทียบเพื่อหาค่าความเข้มของสีเมล็ดกาแฟว่ามีค่าความเข้มได้ระดับสีตรงกับค่าสีมาตรฐานในระดับสีอ่อน กลาง และเข้ม โดยจะแสดงสัญญาณไฟเมื่อได้ระดับตามที่ต้องการ


การวัดระดับความเข้มของสีเมล็ดกาแฟ โดยใช้รูปแบบฮิสโทแกรม ในลักษณะของการประมวลผลโดยภาพในกระบวนการคั่วกาแฟจากกาแฟกะลาเป็นกาแฟคั่วในระดับความเข้มต่างๆ ซึ่งในการแบ่งระดับเกรดของการคั่วเมล็ดกาแฟ ในกระบวนการคั่วกาแฟ ได้ทำการทดลองหาค่าสีมาตรฐาน RGB และนำมาหาค่าเฉลี่ย H โดยผลการทดสอบสีเมล็ดกาแฟคั่วของแต่ละระดับได้แก่ ระดับสีอ่อน โดยมีค่า H = 76.513  ระดับสีกลาง มีค่า H = 57.966 และระดับเข้ม มีค่า H = 41.420 การคั่วเมล็ดกาแฟจะมีค่าความเข้มของสีที่ลดลงตามระดับ เมื่อค่าความเข้มของสีเมล็ดกาแฟอยู่ในเกณฑ์ค่าสีมาตรฐานจะมีการแจ้งเตือนสถานะสัญญาณไฟและเสียงเตือนเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการคั่วในระดับการคั่วที่ต้องการ และได้ทำการหาค่าความคลาดเคลื่อนของระบบ ได้ค่าความคลาดเคลื่อนระดับอ่อนมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.502 ระดับกลางมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.344 และระดับเข้มมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ที่ 0.043

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Hernandez, J. A., Heyd, B. and Trystram, G., 2008. “Assessment of Brightness and Surface Kinetics During Coffee Roasting.” Journal of Food Engineering 87(3): 314-322.
[2] Krongkarb N., and et al. 2015. “Control of Roasting Coffee Bean Degrees by Image Processing with Histogram Matching Technique and Bean Weight Normalization.” International Conference on Image Processing, Electrical and Computer Engineering (IPECE’15), Singapore, 122-138.
[3] Kantalee, P. and Inprasert, C., 2014. Physical property of robusta green coffee beans before and after roasting. M.Sc. Thesis, Kasetsart University. Kamphaeng Saen Campus. (in Thai)
[4] Matsuyama, T. and Ukita, N., 2002. “Real-time multitarget tracking by a cooperative Computer vision system”, Proceedings of the IEEE, Volume 90, Issue 7, Jul Page(s): 1136 – 1150.
[5] Bradski, G., and Kaehler, A., 2008. Learning OpenCV. O’Reilly Media. Sebastopol, September. First Edition.