การพัฒนาระบบสํารองข้อมูลเพื่อการกู้คืนข้อมูลสารสนเทศนอกเครือข่ายเว็บไซต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาระบบสำรองเพื่อการกู้คืนข้อมูลสารสนเทศนอกเครือข่ายเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพระบบสำรองเพื่อการกู้คืนข้อมูลสารสนเทศนอกเครือข่ายเว็บไซต์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี (3) เพื่อประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบสารสนเทศนอกเครือข่ายเว็บไซต์คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี โดยใช้เครื่องมือผังระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และผังการติดตั้งระบบสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และแบบสอบถามเพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบสํารองข้อมูลเพื่อการกู้คืนข้อมูลสารสนเทศนอกเครือข่ายเว็บไซต์จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบเว็บไซต์ คณะวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 225 คน โดยใช้สถิติพรรณนา คำนวณหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มีการพัฒนาระบบการสำรองและกู้คืนข้อมูลสารสนเทศนอกเครือข่ายเว็บไซต์และมีผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญด้านระบบด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน มีค่าเฉลี่ย 4.77 ด้านการสำรองข้อมูลระบบสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 4.67 และด้านการกู้คืนข้อมูลระบบสารสนเทศ มีค่าเฉลี่ย 4.83 มีค่าเฉลี่ยรวม 4.76 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ได้แก่ นักศึกษาและบุคลากร ข้อมูลตอบสนองตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และรูปแบบและวิธีการนำเสนอข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 99.56 รองลงมา คือ ระบบสารสนเทศเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน คิดเป็นร้อยละ 99.02 มีการจัดระบบข้อมูลเป็นหมวดหมู่ คิดเป็นร้อยละ 97.60 ความพึงพอใจในภาพรวมต่อการใช้งานระบบ คิดเป็นร้อยละ 96.70 ความรวดเร็วในการค้นหาและเข้าถึงข้อมูล คิดเป็นร้อยละ 96.00 ระบบสารสนเทศสามารถเข้าใช้งานง่าย คิดเป็นร้อยละ 95.56 ข้อมูลสารสนเทศมีความถูกต้องเชื่อถือได้ คิดเป็นร้อยละ 95.29 ระบบสารสนเทศสามารถเข้าถึงได้สะดวก คิดเป็นร้อยละ 95.02 ข้อมูลสารสนเทศมีความทันสมัย คิดเป็นร้อยละ 94.40 ระบบสารสนเทศครอบคลุมและครบถ้วน คิดเป็นร้อยละ 92.18 โดยมีค่าเฉลี่ยรวม 4.82 คิดเป็นร้อยละ 96.45 ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
คำสำคัญ: การพัฒนาระบบสำรองข้อมูล; การกู้คืนข้อมูลสารสนเทศ; นอกเครือข่ายเว็บไซต์
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
[1] Sodapun, A. 2014. ISO 27001 information security
standard system.
https://www.gotoknow.org/posts/334135.Accessed
20 December 2020.
[2] netmarks (Thailand). 2020. Backup and disaster
recovery systems. https://www.netmarks.co.th/.
Accessed 25 December 2020.
[3] Udomthanathera. K, 2020. System development cycle.
https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-57-
30/2019-03- 15-11-06-29. Accessed 25 December
2020.
[4] Chayapirom, J. 2014. Performance analysis of system
file fragmentation algorithms.
Peer-to-peer backup. Bangkok: Chulalongkorn University. (in Thai)
[5] Sukwinyoo, P. 2010. Developing a disaster emergency
response plan for the system
Information Technology Case Study: Faculty of
Medicine ThammasatUniversity. Bangkok:
Dhurakijpundit University. (in Thai)
[6] Sanit, B.2011. Information Technology
Recovery Plan Case study: Modern Technic
Lock Co., Ltd. M.Sc. Thesis, Mahanakorn
University of Technology University. (in Thai)
[7] Itdigitserve. 2015. Storage and backup
system. https://www.itdigitserve.com/.Accessed
25 December 2020.