ลักษณะอาการและโรคของผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการการแพทย์ทางเลือกโฮมีโอพาธีย์ ณ คลินิกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ธีราพร สุภาพันธุ์
ผศ.ดร.จารุวรรณ ธนวิรุฬห์
จินตนา ช้อนศรี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและอาการของผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการการแพทย์ทางเลือกโฮมีโอพาธีย์ ณ คลินิกการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี การวิจัยนี้ ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1-30 สิงหาคม 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าผู้ป่วยจำนวน 101 คน ส่วนใหญ่เป็นหญิง (ร้อยละ 61.39) มีอายุอยู่ระหว่าง 60 ถึง 84 ปี ช่วงอายุที่มารับบริการมากที่สุดคือระหว่าง 65-69 ปี (ร้อยละ 32.67) กลุ่มโรคของผู้มารับบริการ 3 อันดับแรก ได้แก่ ความผิดปกติเกี่ยวกับข้อและกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 28.63) ความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนหลับ (ร้อยละ 19.82) ความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทและสมอง (ร้อยละ 14.54) ยาโฮมีโอพาธีย์ที่ใช้มากที่สุด 4 อันดับแรก คือ Carciosinum, Argentum nitricum, Medorrhinum และ Arsenicum album โดยเหตุผลที่เข้ารับบริการการแพทย์ทางเลือกโฮมีโอพาธีย์ เนื่องจากการแนะนำของแพทย์ผู้ทำการบำบัดรักษาและอยากลองรักษา ด้านผลการรักษา ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความรู้สึกทางด้านร่างกายและจิตใจดีขึ้น ด้านร่างกายพบว่าอาการปวดเมื่อยลดลง มีการเคลื่อนไหวร่างกายและช่วยเหลือตัวเองได้มากขึ้น       ด้านจิตใจพบว่ามีความสบายใจขึ้น ด้านการแนะนำบอกต่อพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ผลการรักษาดีจะแนะนำการแพทย์ทางเลือกโฮมีโอพาธีย์แก่ผู้อื่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Division of Complementary and Alternative Medicine. 2019. Complementary and Alternative Medicine 2019. https://thaicam.go.th/. Accessed 2 May 2021. (in Thai)

World Health Organization. 2019. WHO Global Report on Traditional and Complementary Medicine 2019. https://apps.who.int/iris/handle/10665/312342. Accessed 2 May 2021.

Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. 2016. Practice Guideline For Thai Traditional and Alternative Medicine in Clinic. Nonthaburi: Department of Thai Traditional and Alternative Medicine. (in Thai)

Namrat, T. and et al. 2018. Satisfaction of the rehabilitation stroke patients on the services of homeopathy as an alternative medicine at Sunpasitthiprasong Hospital, Ubon Ratchathani. Isan Journal of Pharmaceutical Sciences. 14(4): 38-49 (in Thai)

Jaruwanchai, P. and et al. 2015. Characteristic of patients using alternative medicine in public hospitals. Journal of Graduate Studies: Valaya Alongkorn Rajabhat University. 9(2): 73-84.

Mathie, R.T. and et al. 2017. Randomised, double-blind, placebo-controlled trials of non-individualised homeopathic treatment: systematic review and meta-analysis. Systematic Reviews. 6(1): 63-63.

Mathie, R.T. and et al. 2018. Systematic review and meta-analysis of randomised, other-than-placebo controlled, trials of individualised homeopathic treatment. Homeopathy. 107(4): 229-243.

Nelson, D.H. and et al. 2019. The bell tolls for homeopathy: time for change in the training and practice of North American naturopathic physicians. Journal of Evidence-Based Integrative Medicine. 24: 2515690x18823696.

Mathie, R.T. and et al. 2019. Systematic review and meta-analysis of randomised, other-than-placebo controlled, trials of individualised homeopathic treatment. Homeopathy. 108(2): 88-101.

Terry, R., Perry, R. and Ernst, E. 2012. An overview of systematic reviews of complementary and alternative medicine for fibromyalgia. Clinical Rheumatology. 31(1): 55-66.

Perry, R., Terry, R. and Ernst, E. 2010. A systematic review of homoeopathy for the treatment of fibromyalgia. Clinical Rheumatology. 29(5): 457-64.