การพัฒนาเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่ใช้เซนเซอร์วัดปริมาณฝุ่นละอองและแจ้งเตือนผ่านทางแอปพลิเคชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน เนื่องจากก่อให้เกิดฝุ่นละอองและมลพิษ อีกทั้งการเผายังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทรัพย์สินของผู้อื่น งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาเครื่องวัดปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน โดยใช้เซนเซอร์วัดปริมาณฝุ่นละออง และแจ้งเตือนผ่านแอปพลิเคชัน โดยการทำงานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนฮาร์ดแวร์ และส่วนซอฟต์แวร์ สำหรับส่วนฮาร์ดแวร์ได้ออกแบบการทำงานโดยใช้ NodeMCU ESP8266 ในการประมวลผลจากเซนเซอร์วัดปริมาณฝุ่นละออง ในขณะที่ส่วนซอฟต์แวร์ใช้แอปพลิเคชัน Blynk แสดงผลในรูปแบบเรียลไทม์ผ่านแผงควบคุมที่สร้างขึ้น ซึ่งแสดงค่าเป็นตัวเลขและกราฟในแอปพลิเคชัน Blynkบนสมาร์ทโฟน สำหรับดูค่าปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (ฝุ่น PM2.5) อุณหภูมิ และความชื้น (DHT22) การพัฒนาเครื่องต้นแบบเน้นที่การพกพาสะดวก มีขนาดเหมาะสมสำหรับกิจกรรมนอกสถานที่ และราคาถูกกว่าอุปกรณ์ที่มีขายตามท้องตลาด นอกจากนี้แล้ววัสดุที่ใช้ในการพัฒนาเครื่องสามารถหาได้จากชุมชน และคนในชุมชนสามารถสร้างขึ้นเองได้ เมื่อคำนวณต้นทุนการพัฒนาเครื่องต้นแบบวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 พบว่ามีต้นทุนประมาณ 450 บาท เมื่อทดสอบการวัดปริมาณฝุ่น PM2.5 ในอากาศอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เป็นเวลา 7 วัน ด้วยเครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้น เทียบกับอุปกรณ์มาตรฐานของกรมควบคุมมลพิษที่ติดตั้งที่บริเวณบ้านเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี และเครื่องตรวจวัดปริมาณฝุ่น ยี่ห้อ Turnkey รุ่น Osiris พบว่าข้อมูลที่ได้ใกล้เคียงกัน ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าเครื่องต้นแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปวัดค่าฝุ่นละอองได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
Jinsart, W. 2008. Air Pollution and Air Quality Management. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Choo-rin, S. 2016. Air Pollution. Bangkok: Chulalongkorn University Press. (in Thai)
Pollution Control Department. 2010. Announcement of the National Environment Board No. 36 (B.E. 2533) Regarding the Determination of Particulate Matter Standards with a Size Not Exceeding 2.5 Microns. https://www.pcd.go.th/laws. Accessed 23 March 2020. (in Thai)
Office of the Cane and Sugar Board. 2018. The Impact of Small Dust PM2.5 Caused by Burning Agricultural Waste. http://www.ocsb.go.th/th/ cms. Accessed 15 January 2021. (in Thai)
Nuanyai, P. 2019. Why Burn Sugarcane? https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPub-lications/DocLib. Accessed 15 January 2021. (in Thai)
Deecharoenchitpong, J. 2019. The development of dust detection and warning system prototypes by Internet of Things. Journal of Science and Technology. 3(1): 34-43. (in Thai)
Jindarat, S. and Wuttidittachotti, P. 2015. Smart farm monitoring using Raspberry Pi and Arduino. In: Proceedings of 2015 International Conference on Computer, Communications, and Control Technology (I4CT), 21-23 April 2015. Kuching, Malaysia.
Pollution Control Department. 2020. Thailand’s Air Quality Information. http://Air 4 Thai.pcd.go. th/webV2/aqi_info.php. Accessed 11 June 2020. (in Thai)
Phonrit, O., ArnansantN, I., Laotrakulngam, N. and Wattana, N. 2020 Measuring dust system in the air on smartphone devices. Journal of Information Science and Technology. 10(1): 1-9. (in Thai)
Pongphab, D. and Santakij, P. 2021. Dust PM2.5 monitoring and alert system via line application. UTK Research Journal. 15(2): 45-57. (in Thai)
Banggood. 2022. PM1.0 PM2.5 PM10 Air Quality Detection Module Dust Sensor. http://banggood.com/th/PM1_0-PM2_5-PM10-DetectorModule-Air-Quality-Dust-Sensor-Tester. Accessed 16 February 2022. (in Thai)
Intra, P. and et al. 2016. A prototype of low cost, online airborne particulate monitoring station. RMUTT Journal Socially of Engaged Scholarship. 2(1): 1-6. (in Thai)
Thaweesapphirhak, C. and Limsupreeyarat, P. 2020. Development of personal dust detector for contraction activity. Kasetsart Engineering Journal. 33(109): 59-74. (in Thai)
Tapsang, N. 2018. Effect of Urban Green Area on Atmospheric Particulate Matter Concentration in Samut Prakarn. M.Sc. Thesis, Thammasat University. (in Thai)