การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตของผลิตภัณฑ์ Silver Box: กรณีศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันประเทศไทยมียอดการส่งออกรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ที่สูง ทำให้อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับประเทศ บริษัทที่ใช้เป็นกรณีศึกษาดำเนินธุรกิจผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ส่งให้กับบริษัท ต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคเอเชีย ยุโรปและอเมริกา กระบวนการผลิตที่ Line R1-Row#1 เป็นกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ซิลเวอร์บ็อก (Silver Box) ซึ่งเป็นเครื่องเสียงรถยนต์ประเภทไม่มีหน้าจอ ทำหน้าที่ให้ความบันเทิงภายในรถยนต์และมีฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวก เช่น ระบบ GNSS (Global Navigation Satellite System) ซึ่งเป็นระบบนำทางด้วยดาวเทียม ทำหน้าที่ให้ข้อมูลพิกัดบนผิวโลกโดยใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวรับสัญญาณ เพื่อคำนวณและแสดงพิกัดตำแหน่ง ณ จุดที่ตัวรับสัญญาณตั้งอยู่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตผลิตภัณฑ์ Silver Box ในกรณีศึกษา จากการศึกษา และการสำรวจกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ Silver Box ที่ Line R1-Low#1 ซึ่งประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนการประกอบ และขั้นตอนการตรวจสอบ พบว่าในช่วงเริ่มต้นของกระบวนการผลิต ใช้เวลาการผลิตนานเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้พยายามหาแนวทางเพื่อลดเวลาที่ขั้นตอนการประกอบในช่วงเริ่มต้นกระบวนการผลิต โดยการใช้หลักการ PDCA (Plan Do Check และ Action) โดยเริ่มจากการศึกษาและการเก็บรวบรวมข้อมูลเวลาก่อนการปรับปรุง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์หาสาเหตุหลัก โดยใช้แผนผังก้างปลา ร่วมกับหลักการ 3GEN และใช้หลักการ Why-Why Analysis เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและวิธีการปรับปรุง หลังจากการปรับปรุง พบว่าเวลาสูญเสียเฉลี่ยในช่วงเริ่มต้นกระบวนการผลิต Silver Box ลดลงจากเดิม ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 26.87 นาที เป็น 17.15 นาที และค่าอัตราการผลิตเฉลี่ยในชั่วโมงแรกของการทำงานเพิ่มขึ้นจากเดิม 20 ชิ้นต่อชั่วโมง เป็น 30 ชิ้นต่อชั่วโมง การปรับปรุงนี้ทำให้ทางโรงงานสามารถผลิตชิ้นงานได้ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 320 ชิ้น/เดือน คิดเป็นมูลค่าที่เพิ่มขึ้นคือ 1,760,000 บาท/เดือน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
The Office of Industrial Economics. 2021. The summary of Thai Industrial Economy in 2021 and outlook for 2022. https://www.oie.go. th/assets/portals/1/fileups/2/files/Industry%20conditions/annual2021trends2022.pdf. Accessed 28 January 2022. (in Thai)
Keawsood, J. 2019. Improving Production Processes by Applying Lean Concept. Case Study: Rubber Glove Factory in Songkhla Province. M.B.A. Thesis, Prince of Songkla University. (in Thai)
Sangrudee, N. and Rukijkanpanich, J. 2011. Process improvement of fuel pump production in automobile component manufacturer. The Journal of King Mongkut's University of Technology North Bangkok. 21(3): 584-594. (in Thai)
Ariyajunya, B. and Authayarat, W. 2021. The application of service design thinking and work study in process improvement of community enterprise manufacture: a case study of granola bar production process. Naresuan University Engineering Journal. 16(1): 39-52. (in Thai)
Sunarak, T. 2016. Production line efficiency improvement: The case study of powder product packing line. Thai Industrial Engineering Network Journal. 2(3): 51-60. (in Thai)
Intharasena, D and Prathumnakul, S. 2011. Productivity improvement by total productive maintenance techniques case study: United Farmer & Industry Co., Ltd. (MitrPhuvieng branch). Journal of Engineering and Technology. 4(2): 19-34. (in Thai)
Krasae, C. and et al. 2013. Creating a competitive advantage by applying six sigma strategy through strategic management case study of the hard disk drive assembly manufacturing. Journal of Engineering and Technology. 1(1): 51-61. (in Thai)
Archewarangaproke, S. 2003. Practical PDCA for Solving Problem and Improving Work for Success. 1st edition. Bangkok: Sino Design Limited Partnership. (in Thai)
Imai, M. 2012. Gemba Kaizen: A Commonsense Approach to a Continuous Improvement Strategy. 2nd edition. New York: McGraw Hill.
Ploypanicharoen, K. 2014. Quality Control Principles. 1st edition. Bangkok: Promotion Association Thai Japanese Technology. (in Thai)
Hitoshi, Okura. 2002. Why-Why Analysis. Bangkok: Promotion Association Thai Japanese Technology. (in Thai)
Kriengkorakot, N. 2013. Industrial Work Study. Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University Press. (in Thai)