Screening for Acetylcholinesterase Inhibitory Activity from the Piperaceae
Main Article Content
บทคัดย่อ
การตรวจกรองฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสจากพืชวงศ์พริกไทย
การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสที่ใช้ทำลายอะเซทิลโคลีนมีบทบาทสำคัญใน การรักษาโรคอัลไซเมอร์ พืชสมุนไพรนับเป็นแหล่งสำคัญของสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรส ในการวิจัยนี้ผู้วิจัยสนใจศึกษาฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสในหลอดทดลองของสารสกัดหยาบในตัวทำละลายเมธานอลจากพืชสมุนไพรวงศ์พริกไทยพบว่า สารสกัดหยาบส่วนของผลพริกไทย ลำต้นชะพลู ผลดีปลี ใบชะพลู ใบพริกไทย สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลีน-เอสเทอเรสได้ดีมาก (ที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ยับยั้งเอนไซม์ได้ 65.97 - 76.39%) โดยมีค่าความเข้มข้นของสารสกัดหยาบที่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ได้ 50 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 11.13, 13.59, 14.08, 26.74, และ 36.25 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ และสารสกัดหยาบส่วนของใบพลูและใบดีปลี สามารถยับยั้งเอนไซม์ อะเซทิลโคลีนเอสเทอเรสได้ดีปานกลาง (ที่ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ยับยั้งเอนไซม์ได้ 40.28%) งานวิจัยนี้สนับสนุนข้อมูลการใช้ส่วนของพืชสมุนไพรเหล่านี้ในตำรายาพื้นบ้านที่มีสรรพคุณช่วยบำรุงธาตุ บำรุงสมอง
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว