การเปลี่ยนแปลงในพื้นที่โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช: มุมมองด้านทรัพยากรน้ำ

Main Article Content

ปกรณ์ ดิษฐกิจ
นวลวรรณ วิริยะนันทวงศ์
สุธีระ ทองขาว
จันทิรา รัตนรัตน์
ศิวนาถ นันทพิชัย

บทคัดย่อ

โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นโครงการที่สนองพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อแก้ไขปัญหาการรุกตัวของน้ำเค็ม ปัญหาขาดแคลนน้ำจืดในการอุปโภค-บริโภค น้ำใช้ในภาคการเกษตร และปัญหาน้ำท่วม โดยการสร้างประตูระบายน้ำ (ปตร.) อุทกวิภาชประสิทธิที่สามารถป้องกันน้ำทะเลรุกล้าเข้าในลำน้ำปากพนังได้และสามารถเก็บกักน้ำได้สูงสุด +0.30 ม.รทก. ทำให้ภาพรวมการระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม บทความนี้ได้นำเสนอ การติดตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาต่างๆ ภายใต้บริบทของทรัพยากรน้ำที่เปลี่ยนแปลงไป โดยใช้การรวบรวมฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ก่อนและหลังการก่อสร้าง ปตร.อุทกวิภาชประสิทธิควบคู่กับการสอบถามความคิดเห็นโดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่โครงการฯ

จากการศึกษา พบว่า ก่อนมีการก่อสร้าง ปตร. อุทกวิภาชประสิทธิพื้นที่ชลประทานยังได้รับการพัฒนาไม่เต็มศักยภาพ ทำให้ไม่สามารถแก้ไขปัญ หาในพื้นที่ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นได้ แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมภายหลังการก่อสร้างจนถึงปัจจุบัน พบว่า สามารถเก็บกักน้ำจืดที่มีปริมาณมากในช่วงฤดูฝน ไว้ใช้เป็นปริมาณน้ำสำรองในฤดูแล้ง และสร้างความมั่นใจกับเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ว่ามีปริมาณน้ำจืดสำรองไว้ให้ทำการเพาะปลูกในฤดูแล้งได้ อีกทั้งยังสามารถป้องกันการรุกล้ำของน้ำเค็มเข้ามาในลำน้ำสายหลักของพื้นที่โครงการได้อีกด้วย ถึงแม้การดำเนินงานโครงการจะประสบความสำเร็จแต่ยังคงต้องมีการติดตาม ประเมินผล และปรับปรุงการพัฒนาต่างๆ ให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และการผันแปรของสภาพภูมิสังคมโดยรวมต่อไป

 

Changes in Water Resources due to the Royal Initiation of the Pak Phanang River Basin Development, Nakhon Sri Thammarat

The royal initiation of Pak Phanang River Basin Development was a response to an initiative of His Majesty aiming to solve problems ranging from water shortage, flooding, and saline water, and to supply water for human consumption and agricultural activities in the basin. This was done by the creation of a watergate (“Uthok wiphat Prasid”) to prevent the intrusion of saline water into River Pak Phanang and to store fresh water up to +0.30 m above sea level. Ecological areas involving interlinked freshwater, saline-water, and brackish water are complex, and the introduction of the watergate had positive and negative effects on the ecosystem and community in the area. This study aimed to track the changes that took place in its development using a collection of related databases from before and after, questionnaires, and group interviews with stakeholders in the project area. The study found that before the construction of the irrigation area, it had not been fully developed. After construction, it was possible to store a large volume of fresh water during the rainy season for use as a backup water supply during drought and the intrusion of saline into the river and farmland was stopped. Despite this success, there is still a need for further monitoring, evaluation, and improvement in accordance with the local area and the variation in geographic and social factors.

Article Details

บท
บทความวิจัย