กายวิภาคศาสตร์เนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae) บางชนิดในประเทศไทย

Main Article Content

จิดาภา พรหมสิงห์
อนิษฐาน ศรีนวล
วิโรจน์ เกษรบัว

บทคัดย่อ

ศึกษาเนื้อเยื่อชั้นผิวใบของพืชวงศ์มะขามป้อม (Phyllanthaceae) จำนวน 10 สกุล 23 ชนิด ที่พบในประเทศไทย ประกอบด้วยสกุล Phyllanthus 6 ชนิด Antidesma และ Glochidion สกุลละ 4 ชนิด Baccaurea และ Sauropus สกุลละ 2 ชนิด Aporosa, Bridelia, Cleistanthus, Hymenocardia และ Margaritaria สกุลละ 1 ชนิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาลักษณะของเนื้อเยื่อชั้นผิวใบที่สามารถนำมาใช้ในการระบุหรือเป็นเครื่องมือสำหรับอนุกรมวิธาน ด้วยวิธีการลอกผิวใบและการทำให้แผ่นใบใส ย้อมด้วยสีซาฟรานิน ความเข้มข้น 1% ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะกายวิภาคศาสตร์ทั่วไปของพืชวงศ์นี้คือ 1) มีรูปแบบของผิวเคลือบคิวทินเรียบหรือเป็นริ้วเรียงแบบขนาน 2) รูปร่างของเซลล์ในเนื้อเยื่อชั้นผิวมีรูปร่างหลายเหลี่ยม รูปร่างไม่แน่นอน หรือรูปร่างคล้ายจิกซอว์ 3) ชนิดของปากใบเป็นแบบแอนอโมไซติก แอนไอโซไซติก พาราไซติก ไซโคลไซติก แลทเทอโรไซคลิก หรือ พาราไซติกและแอคทิโนไซติกร่วมกัน 4) ชนิดของขนเป็นขนเซลล์เดียว ขนรูปโล่ หรือปุ่มเล็ก และ 5) รูปแบบของสารสะสมเป็นผลึกรูปดาว ผลึกรูปปริซึม แทนนิน และสารติดสีแดง และบางชนิดมีช่องสารหลั่งด้วย ลักษณะกายวิภาคดังกล่าวเบื้องต้นมีความสาคัญต่ออนุกรมวิธานอย่างมาก เนื่องจากสามารถนำไปใช้ในการระบุพืชบางชนิดหรือบางสกุลได้

 

Leaf Epidermal Anatomy of some Species of the Family Phyllanthaceae in Thailand

This study aimed to identify the epidermal features that can be recognized and employed as useful taxonomic characters. Leaf epidermal studies were carried out on 23 species of 10 genera of family Phyllanthaceae occurring in Thailand. The species investigated included six species of Phyllanthus, four species each of Antidesma and Glochidion, two species of Baccaurea and Sauropus, and one species each of Aporosa, Bridelia, Cleistanthus, Hymenocardia, and Margaritaria. The specimens were prepared by leaf epidermal peeling and clearing methods, and stained with 1% safranin. The generalized anatomical characteristics of the family were as follows: 1) the patterns of cuticle were smooth or striate; 2) the shapes of epidermal cells were polygonal, irregular, or jigsaw-like; 3) the types of stomata were anomocytic, anisocytic, paracytic, cyclocytic, laterocyclic, or mixed between paracytic and actinocytic; 4) the types of trichomes were unicellular hairs, peltate hairs, or papillae, and 5) the types of inclusions were druse crystal, prismatic crystal, tannin, or red cell inclusion, and secretory cavities were presented in some species. The above mentioned leaf features are of great taxonomic significance, able to be used to identify some species or genera.

Article Details

บท
บทความวิจัย