พฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรของเกษตรกรบ้านเกษตรพัฒนาเหนือและบ้านเกษตรสามัคคี ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

จิราภรณ์ หลาบคำ
ชลธิชา ผ่องจิตต์
ทิพาวรรณ เพทราเวช

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ชนิด และปริมาณการใช้สารเคมี 2) ชนิด และปริมาณการเกิดซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตร 3) ความรู้และพฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรของเกษตรกรบ้านเกษตรพัฒนาเหนือและบ้านเกษตรสามัคคี ตำบลคำขวาง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจและแบบสอบถามกับตัวแทนครัวเรือนของเกษตรกรที่มีอาชีพการปลูกผัก จำนวน 110 ครัวเรือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวนและร้อยละ

ผลการศึกษาพบว่า ชนิดสารเคมีทางการเกษตรที่เกษตรกรใช้ในการเพาะปลูกเป็นกลุ่มอะบาเม็กติน ร้อยละ 89.10 เป็นชนิดน้ำ 1-5 ลิตร ร้อยละ 72.40 ซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรที่เกิดขึ้นเป็นประเภทแก้ว ร้อยละ 94.50 และกำจัดโดยใช้วิธีการฝังกลบ ร้อยละ 72.70 ส่วนความรู้เกี่ยวกับการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรของเกษตรกร อยู่ในระดับดี ร้อยละ 83.60 เรื่องที่เกษตรกรยังมีความรู้ที่ยังไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตร คือ กระสอบ ลัง ที่ใช้บรรจุสารเคมีทางการเกษตรสมารถใช้บรรจุผักหรือพืชผลทางการเกษตรหลังเก็บเกี่ยวได้ เพราะไม่สัมผัสกับสารเคมีโดยตรงจึงไม่มีสารพิษตกค้าง ร้อยละ 39.10

สำหรับพฤติกรรมการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรของเกษตรกรสามารถจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรโดยวิธีฝังกลบ ผ่านการประเมินอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 72.09 โดยมีพฤติกรรมไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน คือการติดป้ายข้อความ “อันตราย” และล้อมรั้วแสดงเขตพื้นที่ฝัง กลบซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตร ร้อยละ 100.00 ส่วนกลุ่มจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรโดยวิธีไม่ฝังกลบ ผ่านการประเมินอยู่ในระดับดี ร้อยละ 54.17 โดยมีพฤติกรรมไม่ผ่านเกณฑ์ประเมิน คือการกำจัดซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรโดยการทิ้งลงถังขยะเทศบาล ร้อยละ 100.00

ดังนั้นเกษตรจังหวัดหรือสาธารณสุขจังหวัดควรมีการส่งเสริมและให้ความรู้ที่เกี่ยวกับ อันตรายและผลกระทบจากการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรที่ไม่ถูกวิธีแก่เกษตรกร กาหนดแนวทางในการจัดการซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรอย่างเหมาะสมปลอดภัย และเทศบาลตำบลคำขวาง ควรมีการจัดถังขยะเพื่อรองรับซากบรรจุภัณฑ์เคมีทางการเกษตรโดยเฉพาะให้มีความปลอดภัยทั้งต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

 

Behavior of Agrochemical Packaging Waste Management of Farmers Ban Kasetpattana Nue and Ban Kasetsamakkee, Tumbon Kumkwang, Ampher Warinchumrab, Ubon Ratchathani Province.

The purposes of this research were to study 1) types and quantities of chemicals used 2) types and quantities of agrochemical packaging waste 3) farmers’ knowledge and behavior in regard to agrochemical packaging waste management of farmers Ban Kasetpattana Nue and Ban Kasetsamakkee, Tumbon Kumkwang, Ampher Warinchumrab, Ubon Ratchathani province. Data were collected by surveys of and questionnaires completed by representatives of 110 farmers’ households and analyzed by the use of frequencies and percentages.

The study found 89.10% of farmers used Abamectin group in planting and 72.40% used chemicals in a liquid form with the quantities ranging from one to five liters. The agrochemical packaging waste was of a glass type (94.50%), and disposal was by landfill (72.70%). Knowledge about agrochemical packaging waste management was at a good level (83.60%). Some farmers (39.10%) misunderstood were that sacks and boxes were able to be reused for storing vegetables because they did not have direct contact with chemicals. Agrochemical packaging waste management behavior was divided into two groups, landfill and not landfill. Farmers’ behavior regarding landfill was found to be at the middle level (72.09%). This study suggests that the Ubon Ratchathani Provincial Agriculture or Ubon Ratchathani Provincial Public Health should educate farmers about the dangers and effects of misunderstandings about agrochemical packaging waste management and establish appropriate procedures for agrochemical packaging waste management. The study also believes that for health and environmental reasons, Kumkwang Municipality should provide specific bins which safe for agrochemical packaging waste.

Article Details

บท
บทความวิจัย