ผลของพลาสติไซเซอร์และอุณหภูมิอบแห้งต่อสมบัติของฟิล์มย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจากแป้งบุก

Main Article Content

ยุทธนา นามวงษา
ละมุล วิเศษ
ณัฐพล ภูมิสะอาด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของพลาสติไซเซอร์และอุณหภูมิอบแห้งต่อสมบัติของฟิล์มย่อยสลายได้ตามธรรมชาติจากแป้งบุก สารพลาสติไซเซอร์ ได้แก่ ซูโครส ซอร์บิทอล และโพลีเอทิลีนไกลคอลโดยอุณหภูมิในการอบแห้ง คือ 45 50 และ 55 องศาเซลเซียส หลังการอบแห้งนำฟิล์มที่ได้มาวิเคราะห์สมบัติต่างๆ จากผลการทดลองพบว่าเมื่อใช้ซูโครสเป็นพลาสติไซเซอร์ส่งผลให้ค่าความหนา การต้านทานแรงดึง และการละลายน้ำสูงกว่าการใช้พลาสติไซเซอร์ชนิดอื่นในทุกอุณหภูมิการอบแห้ง ในขณะที่การใช้โพลีเอทิลีนไกลคอลมีค่าการยืดตัวของฟิล์มสูงที่สุด สำหรับค่าการต้านทานแรงดึง การยืดตัว และการละลายน้ำของฟิล์มอบแห้งที่อุณหภูมิต่ามีค่าสูงกว่าการอบแห้งที่อุณหภูมิสูงอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนความหนาและอัตราการซึมผ่านของไอน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุณหภูมิการอบแห้ง

 

Effects of Plasticizers and Drying Temperatures on Properties of Biodegradable Film from Konjac Flour

This research aims to study the effects of plasticizers and drying temperatures on the properties of biodegradable film from konjac flour. Plasticizers were sucrose, sorbitol and polyethylene glycol. The drying temperature is 45 50 and 55 degrees Celsius. After drying, properties of films were analyzed. The experimental results found that the using of sucrose as plasticizer resulted in higher thickness, tensile strength and water solubility values than using other plasticizers in all drying temperatures significantly. However, the using of polyethylene glycol gave the highest elongation. In addition, the tensile strength, elongation and water solubility values of films drying at low temperature were significantly higher than those drying at high temperature. Moreover, the thickness and water vapor permeation rate were increased with the increase in drying temperature.

Article Details

บท
บทความวิจัย