ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

มินตรา สาระรักษ์
วรารัตน์ สังวะลี
วิลาศ คำแพงศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาความชุก และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 218 รูป การสุ่มเลือกตำบลที่ศึกษาโดยการแบ่งกลุ่ม หลังจากนั้นใช้วิธีการจับสลากตำบลที่ต้องการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือน กรกฏาคม – สิงหาคม 2557 โดยใช้แบบสอบถามเรื่องความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ อำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มีความเชื่อมั่นโดยใช้สถิติแอลฟาของคอนบาร์ค เท่ากับ 0.7 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ด้วยสถิติ Chi-square test และ Fisher’s Exact test ที่ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05

ผลการศึกษา พบว่า ความชุกของการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์ ที่มีการเจ็บป่วย จำนวน 32 รูป คิดเป็นร้อยละ 14.68โดยพบว่า พระภิกษุสงฆ์ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ร้อยละ 65.63 (95% CI = 48.23 - 83.02) รองลงมา คือ โรคไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 18.75 (95% CI = 4.45 - 33.05 ) และพบว่า ปัจจัยด้านดัชนีมวลกาย วิธีการรักษาเมื่อเจ็บป่วย การตรวจสุขภาพประจำปี และความถี่ในการตรวจสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของพระภิกษุสงฆ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.014, P < 0.001, P < 0.001 และ P = 0.015 ตามลำดับ) ดังนั้น บุคลากรทางด้านสุขภาพและผู้เกี่ยวข้องควรส่งเสริมหรือจัดโปรแกรมทางด้านสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับดัชนีมวลกาย การรักษาสุขภาพเมื่อเจ็บป่วย การบริโภคอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย และการให้ความสำคัญของการตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อให้พระภิกษุสงฆ์มีการรับรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคความดันโลหิตสูงและโรคไขมันในเลือดสูง โดยคำนึงถึงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี

 

Prevalence and Factors Associated with Chronic illness of Monks in Amphoe Warinchamrab, Ubon Ratchatani Province

This cross-sectional research investigated the prevalence and factors related to chronic illness of monks in Amphoe Warinchamrab, Ubon Ratchatani province. The sample was 218 monks selected by cluster random sampling and simple random sampling in the study area. Data were collected from July to August 2014 by self-administered questionnaires (reliability coefficient of 0.7) and analyzed by the use of descriptive statistics. Factors related to chronic disease were identified by Chi-square test and Fisher’s Exact test at p-value < 0.05. The results showed that the prevalence of chronic illness in the monks was 14.68%(32 monks), 65.63% of whom suffered from hypertension (95% CI = 48.23 - 83.02) and 18.75% of whom suffered from high blood cholesterol (95% CI = 4.45 - 33.05).The factors related to chronic illness at a level of .05 of significance were body mass index (BMI), method of treatment of illness, annual health check, and frequency of health check (P = 0.014, P < 0.001, P < 0.001 and P = 0.015 respectively). These results suggested that the health care team and responsible organization should provide health promotion programs to monks, especially related to BMI, self-care, food consumption, physical activity, and health checks, to reduce risk factors of chronic illness, such as hypertension and high blood cholesterol.

Article Details

บท
บทความวิจัย