สภาพสิ่งแวดล้อมภายในครัวเรือน และพฤติกรรมสุขภาพ ของผู้ป่วยนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะในอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสิ่งแวดล้อมภายในครัวเรือน และพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย ในอำเภอบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ โดยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ในกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่แพทย์ได้วินิจฉัยว่าเป็นนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะระหว่าง พ.ศ. 2553 – 2557 จานวน 66 คน ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่สภาพสิ่งแวดล้อมภายในครัวเรือนของผู้ป่วยเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะร้อยละ 70.9 (95%CI: 58.74 to 81.69) สำหรับพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมเกี่ยวกับการเกิดและการป้องกันนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะส่วนใหญ่ระดับปานกลางร้อยละ 65.2 (95%CI: 52.42 to 76.47) มีความรู้ระดับน้อยร้อยละ 60.6 เจตคติและการปฏิบัติตัวระดับปานกลางร้อยละ 97.0 และร้อยละ 80.3 ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า ควรศึกษาวิธีการปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน เพื่อลดโอกาสเสี่ยงการเกิดนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะ และรูปแบบพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อการป้องกันการเกิดนิ่วระบบทางเดินปัสสาวะต่อไป
Household Environmental Conditions and Health Behaviors of Urolithiasis Patients in Bungkla District, Buengkan Province
This research studied the household environmental conditions and health behaviors of urolithiasis patients diagnosed between 2010 and 2014 in Bungkla district, Buengkan province. Data were collected by interviews with 66 patients. Results showed that 70.9% of patients who lived in household environmental conditions risked urolithiasis (95%CI: 58.74 to 81.69). Overall health behaviors of the patients were at the moderate level of 65.2% (95%CI: 52.42 to 76.47), with knowledge at the low level of 60.6%, and attitude and practice at the moderate levels of 97.0% and 80.3% respectively. This study suggested that the household environment should be improved to decrease the risk of urolithiasis and health behaviors needed promotion for prevention.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว