สถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรบริเวณภูมิภาคลุ่มน้ำโขงตอนล่าง

Main Article Content

ชิดหทัย เพชรช่วย

บทคัดย่อ

บทความนี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลที่มีการสำรวจ หรือศึกษาค้นคว้าวิจัยที่เกี่ยวกับการใช้สารเคมีการเกษตรในพื้นที่เพาะปลูกบริเวณลุ่มน้ำโขงตอนล่างในช่วงเกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เห็นภาพรวมของสถานการณ์การใช้สารเคมีการเกษตรในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย ประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว(สปป.ลาว) ไทย และเวียดนาม โดยแบ่งประเด็นย่อยออกเป็น 1) การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง 2) การใช้ปุ๋ยในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง 3) ผลกระทบของสารเคมีการเกษตรในสิ่งแวดล้อม 4) ผลกระทบของสารเคมีการเกษตรต่อสุขภาพอนามัย และ 5) แนวทางการจัดการผลกระทบจากการใช้สารเคมีการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง จากข้อมูลที่รวบรวมได้แสดงให้เห็นว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ยังมีการใช้สารเคมีการเกษตรค่อนข้างมากโดยเฉพาะในการทำนาปลูกข้าว สารเคมีที่ใช้มีทั้งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ใช้กันแพร่หลายในพื้นที่ ได้แก่ สารเคมีกำจัดแมลง สารเคมีกำจัดเชื้อรา และสารเคมีกำจัดวัชพืช รวมถึงปุ๋ยเคมี นอกจากนี้การใช้สารเคมีดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มีการตกค้างในดินและแหล่งน้า และยังมีผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรทั้งพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง ทั้งนี้สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการใช้สารเคมีในปริมาณมากเกินความจำเป็นและมีวิธีปฏิบัติในการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง พบว่าในบางประเทศเกษตรกรยังมีการใช้สารเคมีการเกษตรที่ห้ามจำหน่ายแล้ว อย่างไรก็ตาม ระบบเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้าโขงมีแนวโน้มในการปรับปรุงพัฒนาและมีการปฏิบัติที่ดีขึ้นต่อไปในอนาคต

Application of Agrochemicals in the Lower Mekong Basin

This article gathered survey data and research related the application of agrochemicals in crop fields along the lower Mekong basin during the last two decades in Cambodia, Lao People's Democratic Republic, Thailand, and Viet Nam. The investigation addressed: 1) Pesticide applications in the lower Mekong basin; 2) fertilizer application; 3) environmental impacts of the application of agrochemicals; 4) health impacts of these applications; and 5) management to reduce these impacts. The data showed that most farmers used large amounts of agrochemicals, particularly in rice farming. The agrochemicals most widely used were pesticides, such as insecticides, fungicides, and herbicides, including chemical fertilizers. The overuse of these chemical applications impacted on the environment in the form of chemical residues in soil and water and on health, causing acute and chronic toxicity. It was found that some farmers used banned agrochemicals, but it was noted that the situation was improving, leading to better farming practices.

Article Details

บท
บทความวิจัย