ผลของโปรแกรมการใช้สมุดบันทึกทางคลินิกร่วมกับแรงสนับสนุนจากเพื่อนเบาหวานต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อำเภอมหาชนะชัย จังหวัดยโสธร

Main Article Content

อภิชาติ กตะศิลา
สุกัญญา ลีทองดี
ประเสริฐ ประสมรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการใช้สมุดบันทึกข้อมูลทางคลินิกร่วมกับการสนับสนุนจากเพื่อนเบาหวาน ต่อความรู้ การกำกับตนเอง การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและค่าระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ ในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลมหาชนะชัย คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยสูตรประมาณค่าเฉลี่ยสำหรับสองกลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ กลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามมาตรฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t – test และ Independent t-test

ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าคะแนนความรู้เรื่องความรุนแรงของโรคแทรกซ้อน ความสามารถในการกำกับตนเอง การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง และดีขึ้นกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดภายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มทดลองมีค่าระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ดังนั้น ควรนำรูปแบบการกำกับตนเองด้วยสมุดบันทึกข้อมูลทางคลินิก ร่วมกับการสนับสนุนจากเพื่อน หรือญาติ ในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังอื่นๆ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน

 

Assessment of Clinical Skills and Social Support for Self-care Behavior and Level of Fasting Blood Sugar of Patients with Diabetes in Mahachanachai District, Yasothon Province

This quasi-experimental research aimed to study the effects of a program that used a clinical data notebook with family support of health care behavior and blood sugar control in patients with type 2 diabetes. Sixty-four patients with non-insulin dependent diabetes mellitus with uncontrolled blood sugar levels were selected by random sampling from the area under the responsibility of Mahachanachai Hospital. The group of 64 was divided into experimental and control groups with 32. The experimental group was exposed to an eight week program based on self-regulation theory and social support and the control group received usual care. Data were collected by interviews and analyzed by descriptive statistics, including percentages, means, standard deviations. paired T-tests, and independent T-tests. Results showed that the experimental group had better knowledge about the severity of diabetes complications compared to before attending the program and also had knowledge that was statistically significantly better than the control group (p<0.05). The experimental group showed improvement in the three areas of self-regulation, getting social support, and blood sugar level controlling behavior compared to before attending the program and also was statistically significantly better in these three areas than the control group (p<0.05). Moreover, the blood sugar levels of the experimental group were statistically significantly less than the control group after the trial (p<0.05) The study recommended that the application of self-regulation by assessment of the clinical skills of patients with diabetes should be combined with social support from their peers and family to make sustainable changes.

Article Details

บท
บทความวิจัย