ความเครียดของพนักงานและปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดของพนักงาน กรณีศึกษาฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย

Main Article Content

วชิระ เพ็ชรราม
กลางเดือน โพชนา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความเครียดและเปรียบเทียบระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของพนักงาน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล รวมทั้งวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความเครียด เพื่อเสนอแนวทางในการลดความเครียด ในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท กรณีศึกษาที่ปฏิบัติงาน ณ ฐานผลิตแก๊สธรรมชาตินอกชายฝั่งอ่าวไทย เก็บข้อมูลแบบสุ่มโดยการใช้แบบสอบถาม จากพนักงาน จำนวน 330 คน แบบสอบถามประกอบด้วย 3 ตอน คือ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานที่มีผลกระทบต่อความเครียดและระดับความเครียดของพนักงาน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัยพบว่า พนักงานส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปกติ พนักงานที่มีความแตกต่างกันในด้านภูมิลำเนาที่อยู่อาศัย ระดับการศึกษา แผนกที่ปฏิบัติงานและสถานที่ปฏิบัติงาน มีระดับความเครียดไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพนักงานที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกัน เช่น อายุ อายุงาน รายได้ต่อเดือน สถานภาพการสมรส ระดับงาน สถานภาพการเป็นพนักงาน จำนวนวันในการปฏิบัติงาน การออกกำลังกายและสุขภาพ มีระดับความเครียด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อวิเคราะห์ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงานของพนักงาน พบว่า ปัจจัยด้านการปฏิบัติงาน เช่น ปริมาณงาน กฎระเบียบของบริษัท เป็นต้น เป็นปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดมากที่สุด ผลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารจัดการความเครียดของพนักงานได้

 

Employees' Stress and Factors Affecting It: A Case Study of an Offshore Gas Plant in Gulf of Thailand

The objectives of this research were to investigate employees’ stress, compare stress levels according to personal factors, study factors affecting employees' stress, and make recommendations to moderate their stress. The participants were 330 workers on an offshore gas plant in the Gulf of Thailand who were randomly selected to complete a questionnaire that involved items related to personal information, factors related to the work environment, and stress self-evaluation. Survey results were analyzed by using a statistical package. Results revealed that the majority of workers had a normal level of stress. Differences in residential region, education, work department, and work location had no impact on stress level. However, differences in age, work experience, monthly income, marital status, job position, employment status, number of working days, frequency of exercise, and health status significantly affected stress level. Specific investigation of work environment factors revealed that the most influencial items were operational factors such as work load, and organizational rules and regulations. The research provided specific guidance for employees' stress management.

Article Details

บท
บทความวิจัย