การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงเตาเผาอิฐมอญแห่งหนึ่งในอำเภอวารินชาราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินเสี่ยง ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ในโรงเตาเผาอิฐมอญ โดยการนำกระบวนการประเมินความเสี่ยงของกรมโรงงานอุตสาหกรรมมาปรับใช้ ผู้วิจัยได้พัฒนาแบบตรวจสอบและสังเกตทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน มาใช้ในการชี้บ่งอันตรายจากการทำงาน ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ครอบคลุมถึงสภาพแวดล้อมพื้นที่การทำงานทั่วไป และขั้นตอนการทำงานของคนงานโรงเผาอิฐทั้ง 5 ขั้นตอน ผลการศึกษาโดยใช้แบบตรวจสอบและสังเกตทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน พบประเด็นอันตรายทั้งหมด 64 ประเด็น โดยพบว่าขั้นตอน 3 อันดับแรกที่มีอันตรายมากที่สุดคือ ขั้นตอนการเตรียมดินก่อนเผาอิฐ รองลงมาคือสภาพพื้นที่การทำงานและขั้นตอนการตากดิน ประเด็นที่พบว่าเป็นความเสี่ยงสูงในสภาพพื้นที่การทำงานและขั้นตอนการทำงานเกือบทุกขั้นตอนคือ เสียงดังจากเครื่องจักร สถานที่ทำงานมีฝุ่นฟุ้งกระจาย ท่าทางการยกเคลื่อนย้ายไม่ถูกต้องและคนงานไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และจากผลการศึกษาผู้ประกอบการโรงเตาเผาอิฐมอญควรมีการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยง การจัดสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงาน เพื่อลดความเสี่ยงในการทำงานและส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานมากขึ้น
Occupational Health and Safety Risk Assessment of a Red Clay Brick Factory in Warinchamrap District, Ubon Ratchathani Province
The aim of this study was to assess the occupational health and safety risk of a red clay brick factory by the application of methods of the Department of Industrial Works. An audit and observation checklist initiated by the researchers of hazards and risk assessment was developed. This study took place in workplace conditions and involved five red clay brick production processes. Results found 64 hazards. The three most hazardous levels were found in clay preparation, workplace conditions, and drying clay. Common issues found in all processes included high noise levels from machines, high levels of dust, poor lifting procedures, and not wearing personal protective equipment. The study suggests that the factory owner should develop a risk management plan and provide good facilities in the workplace to reduce risk and encourage safety awareness.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว