ความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคในปลาของแบคทีเรียกรดแลคติก ที่แยกจากลำไส้ปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus)

Main Article Content

วอนสมัย ดาราแสน
อัจฉรา รัตนชัย

บทคัดย่อ

การคัดแยกแบคทีเรียกรดแลคติกจากลำไส้ปลาดุกอุย (Clarias macrocephalus) ที่มีความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียก่อโรคปลา พบว่า จากจำนวนแบคทีเรียกรดแลคติกที่แยกได้ทั้งหมด 77 ไอโซเลท มี 9 ไอโซเลทซึ่งประกอบไปด้วย Enterococcus sp. (6 ไอโซเลท) Lactococcus lactis spp. lactis (2 ไอโซเลท) และ Lactobacillus brevis (1 ไอโซเลท) แสดงความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียที่นามาทดสอบทุกสายพันธุ์ได้ ในระดับดีด้วยวิธี agar spot test เมื่อทดสอบกิจกรรมการยับยั้งด้วยวิธี disc diffusion assay โดยใช้น้ำเลี้ยงเซลล์ปกติ น้ำเลี้ยงเซลล์ที่ผ่านการปรับสภาพให้เป็นกลาง และน้ำเลี้ยงเซลล์ที่ถูกย่อยด้วย Proteinase K พบว่าขนาดของบริเวณยับยั้งแตกต่างกันบ่งชี้ว่ากลไกการยับยั้งเป็นผลมาจากการผลิตกรดอินทรีย์และแบคเทอริโอซิน นอกจากนี้ยังพบว่า Lactobacillus brevis มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ Aeromonas hydrophila, Streptococcus agalactiae และ Flavobacterium columnare ได้ดีกว่า Enterococcus sp. และ Lactococcus lactis ssp. lactis อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

Antibacterial Activity of Lactic Acid Bacteria isolated from the Intestine of C. macrocephalus against Fish Pathogens

Lactic acid bacteria were isolated from the intestine of Clarias macrocephalus for their antibacterial properties against fish pathogens. Of 77 isolates, nine, Enterococcus sp. (6 isolates), Lactococcus lactis spp. lactis (2 isolates) and Lactobacillus brevis (1 isolate), demonstrated great inhibition against all indicator bacteria by the agar spot test. The reduction of inhibition zones were examined by disc diffusion assay using crude cell-free culture supernatants, neutralized culture supernatants, and proteinase K treated culture supernatants. Findings indicated that the mechanism of inhibition resulted from the production of organic acid and bacteriocin. Moreover, Lactobacillus brevis showed significantly greater action than Enterococcus sp., Lactococcus lactis spp. lactis on Aeromonas hydrophila, Streptococcus agalactiae, and Flavobacterium columnare.

Article Details

บท
บทความวิจัย