Sweet Potato and Cassava as Alternative Substrates for Growing Spawn of Shiitake (Lentinula edodes B.) and Lingzhi (Ganoderma lucidum K.)

Main Article Content

Theresia Desy Askitosari
Maria Goretti Marianti Purwanto
Kezia Eunike Sabrina

บทคัดย่อ

Edible mushrooms are one of the popular foods of the world. Shiitake (Lentinula edodes B.) and Lingzhi (Ganoderma lucidum K.) are high-demand medicinal edible mushrooms and widely cultivated in Indonesia. Up till now, potato is the only substrate media used for growing spawn of F0-mycelial growth phase, while corn seeds are the only substrate media used for the F1-mycelial growth phase. Both of the substrate materials are quite costly and their availability is quite rare in some parts of Indonesia. Hence this study proposed an alternative substrate using lower price materials abundantly available in Indonesia, such as sweet potato and cassava for growing spawn of F0-mycelial and F1-mycelial growth phase for Shiitake and Lingzhi. The results showed the utilization of sweet potato and cassava as substrates gave no different result on F0-mycelial growth of both mushroom species compared to potato medium (P>0.05). On the other hand, the mixture of 40% sweet potato and 60% corn seeds as substrate gave a significantly higher F1-mycelial growth rate compared to 100% corn seeds medium (P<0.05). It was concluded that sweet potato and cassava can be used as alternative substrates for F0 and F1-mycelial growth of Shiitake and Lingzhi cultures.
 

ในจำนวนเห็ดที่สามารถรับประทานได้นั้น เห็ดหอม (Lentinulaedodes B.) และเห็ดหลินจือ (Ganodermalucidum K.) เป็นเห็ดที่ได้รับความนิยมและสามารถปลูกได้ดีในประเทศอินโดนีเซีย ในปัจจุบันการเพาะเลี้ยงเห็ดในขั้นตอนการเลี้ยงเส้นใยรุ่นแรก (F0) นั้น สามารถใช้อาหารเพาะเลี้ยงได้เพียงแค่อย่างเดียว คือ มันฝรั่ง ในขณะที่ขั้นตอนในการเลี้ยงเส้นใยรุ่นที่สอง (F1) สามารถใช้เมล็ดข้าวโพดได้เพียงอย่างเดียว ซึ่งทั้งมันฝรั่งและเมล็ดข้าวโพดนั้นมีราคาค่อนข้างสูงและค่อนข้างหาได้ยากในอินโดนีเซีย ในงานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อที่จะเลือกใช้อาหารเพาะเลี้ยงที่มีราคาไม่แพงและหาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น มันเทศและมันสำปะหลัง เพื่อใช้เพาะเลี้ยงเส้นใยของเห็ดหอมและเห็ดหลินจือ ซึ่งพบว่าการใช้มันเทศ และ มันสำปะหลัง เป็นอาหารเพาะเลี้ยงเส้นใยรุ่นแรกนั้นให้ผลของการเจริญเติบโตของเส้นใยไม่แตกต่างจากการเลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงที่ทำจากมันฝรั่ง (P>0.05) ในทางกลับกัน พบว่า เมื่อผสมมันเทศและข้าวโพดในอัตรา 60:40 และใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงเส้นใยรุ่นที่สอง(F1) นั้นให้ผลของการเจริญเติบโตของเส้นใยมากกว่าจากการเลี้ยงในอาหารเพาะเลี้ยงที่ทาจากเมล็ดข้าวโพดเพียงอย่างเดียว (P>0.05) ซึ่งสามารถสรุปได้ว่ามันเทศและมันสำปะหลัง สามารถใช้เป็นอาหารเพาะเลี้ยงสำหรับเส้นใยรุ่นที่หนึ่งและสองของเห็ดหอมและเห็ดหลินจือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย