การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลเมืองฝาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกระบวนการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลเมืองฝาง อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการและแนวคิดเทคโนโลยีเพื่อการมีส่วนร่วม (Technology of Participation : TOP) โดยใช้กระบวนทั้งหมด 8 ขั้นตอน คือ SUPAPORN Process วัดผลโดยเปรียบเทียบระดับความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 17 คน ระยะเวลาดำเนินการ 24 สัปดาห์ (ธันวาคม 2556-พฤษภาคม 2557) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสังเกต แบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบความรู้ การมีส่วนร่วม และความพึงพอใจ วิเคราะห์ลักษณะทางประชากรโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนน วิเคราะห์ด้วยสถิติ Wilcoxon Match Pairs Signed Rank-test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพสูงขึ้นโดย ด้านความรู้เกี่ยวกับระบบหลักประกันสุขภาพเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการกองทุนเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) ด้านความพึงพอใจต่อการดำเนินงานกองทุนเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05)
การพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ มีปัจจัยแห่งความสำเร็จ 4 ประการคือ การสร้างภาคีเครือข่าย การสร้างความรู้ความเข้าใจ การประชาสัมพันธ์ และการติดตามและการรายงาน
The Potential Development of Board Directors of Health Insurance Fund Muang Fang Sub-district, Muang District, Burirum Province.
The research aimed to improve the process of development in district health management Muang Fang Sub-district, Muang District, Burirum Province. This study required using technology for a fraction (Technology of Participation: TOP) and researching the action research process using all 8 steps SUPAPORN Process which was compared before and after development in terms of knowledge, participation and satisfaction. In conducting this research. The researcher have used a sample of 17 people during 24 weeks for data collection. It has been used by methods of observation, interview and testing their knowledge, involvement and satisfaction. The demographic characteristics were analyzed using descriptive statistics to compare the differences in mean scores by Wilcoxon Signed Rank-test at the 0.05 significance level.
The results revealed that knowledge of the health system had not showed any statistically significant difference at p<0.05 level. Participation in fund management before and after developing showed the different in statistically significant at p<0.05 level. Satisfaction with the performance of the fund before and after developing showed the differences in statistically significant at the p<0.05 level.
The key success factors in the development are as follows. Network, understanding of the health system, advertising and PR and reporting.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว