การดูดซับทางชีวภาพทองแดง(II) ด้วยไฟโบรอินจากรังไหมเหลือทิ้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการดูดซับทางชีวภาพของทองแดงโดยใช้ไฟโบรอินที่ได้จากเศษรังไหม โดยการทดลองการดูดซับทำในถังปฏิกรณ์แบบกะและศึกษาอิทธิพลต่างๆ ต่อการดูดซับทองแดง ประกอบด้วย พีเอชของสารละลาย เวลาในการดูดซับ ปริมาณตัวดูดซับ และความเข้มข้นของทองแดง ที่ความเข้มข้นเริ่มต้นของทองแดงเป็น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าพีเอช 6 อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เวลา 60 นาที เมื่อใช้ตัวดูดซับ 0.5 กรัม ผลการวิจัยพบว่า ไฟโบรอินสามารถดูดซับทองแดงได้ร้อยละ 98 การศึกษาจลนศาสตร์ของการดูดซับโดยใช้สมการปฏิกิริยาอันดับหนึ่งเทียมและปฏิกิริยาอันดับสองเทียมเพื่อคำนวณค่าคงที่อัตราการดูดซับ ความจุของการดูดซับที่สภาวะสมดุล และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พบว่า สอดคล้องกับสมการปฏิกิริยาอันดับสองเทียมและเมื่อนำแบบจำลองการดูดซับของแลงเมียร์และฟรุนดลิซ มาอธิบายไอโซเทอมของการดูดซับและค่าคงที่ไอโซเทอม พบว่าผลการทดลองสอดคล้องกับสมการแลงเมียร์
Biosorption of Copper(II) using Fibroin from Cocoon Waste
The biosorption of Cu(II) ions onto fibroin powder obtained from cocoon waste was studied. The adsorption experiments were conducted in a batch setup. Parameters affecting the adsorption of Cu(II) ions including pH of a solution, adsorption time, adsorbent dose, and Cu(II) concentration were investigated. With the 50 mg/L Cu(II) ions solution of pH 6.0, temperature of 30 °C, adsorption time of 60 min and 0.50 g of fibroin powder, about 98% of Cu(II) ions was removed from the solution. The kinetic models, pseudo-first order and pseudo-second order kinetic model were applied to examine the kinetic adsorption. The adsorption kinetic data correlates with pseudo-second order kinetic model. The Langmuir and Freundlich adsorption models were applied to describe the isotherms and isotherm constants. Adsorption isotherm data correlates with Langmuir adsorption model.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว