ระบบนำส่งยาที่เกิดอิมัลชัน/ไมโครอิมัลชันเอง ของยาค่าการละลายน้ำต่ำสำหรับการให้ทางปาก
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาของยาที่มีค่าการละลายน้ำต่ำที่ให้โดยการรับประทานคือการดูดซึมในระบบทางเดินอาหาร มีขีดจำกัด ส่งผลให้ยามีชีวประสิทธิผลต่ำ การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีเทคนิคจำนวนมากในการเพิ่มการละลายของยาเช่น การลดขนาด การใช้สารลดแรงตึงผิว ไซโคลเด็กซ์ทรินและอนุพันธ์ สารช่วยเพิ่มการดูดซึม และการใช้เทคนิคโซลิดดิสเพอชัน ต่อมามีการนำไขมันมาใช้อย่างแพร่หลายเพื่อเป็นระบบนำส่งยาละลายน้ำยากที่ให้โดยการรับประทาน ระบบนำส่งยาชนิดอิมัลชันหรือไมโครอิมัลชันเกิดขึ้นเอง เป็นของเหลวผสมที่ประกอบด้วยน้ำมัน สารลดแรงตึงผิวและตัวทาละลาย สามารถเกิดเป็นอิมัลชันขนาดเล็กหรือไมโครอิมัลชันได้เองเมื่อมีการเคลื่อนที่ของระบบทางเดินอาหารและผสมกับของเหลวในระบบทางเดินอาหาร ระบบนำส่งยาชนิดอิมัลชันหรือไมโครอิมัลชันเกิดขึ้นเองจึงเหมาะกับยาที่ละลายน้ำยากโดยยาสามารถละลายได้เพิ่มขึ้นในน้ำมันหรือของผสมระหว่างน้ำมันและสารลดแรงตึงผิว ทำให้ยาดูดซึมได้มากขึ้นและเพิ่มชีวประสิทธิผลของยาได้เมื่อให้โดยการรับประทานโดยผ่านหลายกลไก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบและคุณสมบัติของสภาพแวดล้อมในลำไส้เล็ก กระตุ้นการหลั่งเอนไซม์ ไลเปสหรือเอนไซม์จากตับอ่อน มีการขนส่งยาผ่านทางระบบทางเดินอาหารและระบบน้าเหลือง และยับยั้งการทางานของพี-ไกลโคโปรตีนทาให้ลดกระบวนการเมตาบอลิซึมของยาได้ อย่างไรก็ตาม ระบบนำส่งยาชนิดอิมัลชันหรือไมโครอิมัลชันเกิดขึ้นเองเป็นของเหลวซึ่งมีข้อด้อยเมื่อเทียบกับของแข็งคือเรื่องความคงตัวของยาที่ไวต่อออกซิเจนหรือความชื้น ยิ่งไปกว่านั้นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปของระบบนาส่งยาชนิดอิมัลชันหรือไมโครอิมัลชันเกิดขึ้นเองที่เป็นของเหลวบรรจุในแคปซูลเจลาตินชนิดนิ่ม มีข้อจำกัดในเรื่องการรั่วของผลิตภัณฑ์ยา ต้นทุนในการผลิตสูงเนื่องจากต้องใช้เครื่องมือในการผลิตที่เฉพาะ เพื่อสะดวกในการผลิตในระดับอุตสาหกรรมจึงเตรียมระบบนาส่งยาชนิดอิมัลชันหรือไมโครอิมัลชันเกิดขึ้นเองให้เป็นของแข็ง ซึ่งเตรียมได้หลายวิธีได้แก่ การดูดซับบนตัวดูดซับที่เป็นของแข็ง ทาให้แห้งโดยวิธีการพ่นให้แห้ง การทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง การทำเป็นเพลเลต ดังนั้นการทำให้ระบบนาส่งยาชนิดอิมัลชันหรือไมโครอิมัลชันเกิดขึ้นเองอยู่ในรูปแบบของแข็งจึงเป็นแนวทางที่มีความเป็นไปได้สูงในการผลิตในระดับอุตสาหกรรม เนื่องจากเป็นวิธีที่มีต้นทุนการผลิตต่ำและยามีความคงตัวมากขึ้น
Self Emulsifying/Microemulsifying Drug Delivery Systems of Low Aqueous Solubility Drug For Oral Administration
The drawback of drug display low solubility in water with oral delivery is the limitation in GI absorption, which leads to poor bioavailability. To overcome such problems, various formulation strategies are addressed including size reduction, the use of surfactants, cyclodextrins and derivatives, permeation enhancers and solid dispersion technique. Recently, the increasing in an application of lipid as a carrier for the poorly water soluble drug has been explored for the oral drug delivery. Self emulsifying/microemulsifying drug delivery system is a liquid mixture of oils, surfactants and solvents that has been ability to form fine emulsion or microemulsion upon gentle agitation of gastrointestinal movement following dilution with the GI fluid. This renders SEDDS/SMEDDS a good candidate for hydrophobic drugs with increasing solubility in oils or oil/surfactant mixture. As such, SEDDS/SMEDDS enhance drug absorption and bioavailability after oral administration via many mechanisms. The investigated mechanisms are the alteration of the composition and character of the intestinal milieu, the stimulation of lipase/pancreases secretion, the mobilization of intestinal lymphatic drug transport and the inhibition of P-glycoprotein function resulting in the reduction of drug metabolism. However, SEDDS/SMEDDS is a liquid mixture which has the disadvantage in comparison with the solid e.g. stability concerns with compounds susceptible to oxygen or moisture. Additionally, the finished product of liquid SEDDS/SMEDDS contained in the soft gelatin capsules that the limitations include the leakage of drug product, the higher manufacturing cost regarding the requirements of specialized manufacturing equipments. To facilitate the manufacturing production, solid self emulsifying/microemulsifying drug delivery (solid SEDDS/SMEDDS) systems are explored. Many approaches for preparing solid SEDDS/SMEDDS are demonstrated such as the adsorption on solid carrier, spray drying, freeze drying and pelletization. Therefore, the solid SEDDS/SMEDDS is a potential approach for the manufacture regarding the low production costs and increasing drug stability.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว