ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของประชาชนบ้านเมืองหมีน้อย ตำบลกวนวัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือน และแนวทางในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนของประชาชน บ้านเมืองหมีน้อย ตำบลกวนวัน อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้าครอบครัวหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาหารในครอบครัว จำนวน 76 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าตํ่าสุดและสูงสุด ค่ามัธยฐาน และเปอร์เซนไทล์
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่าง มีความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 67.11โดยสมาชิกทุกคนในครอบครัวมีอาหารเพียงพอรับประทานจนอิ่มทุกมื้อเป็นประจำ มากที่สุด ร้อยละ 53.95 แต่ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีรายได้ในครอบครัวไม่เพียงพอกับการซื้ออาหารสำหรับคนในครอบครัวบ่อยครั้ง ร้อยละ 59.21 ส่วนแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนโดยรวม อยู่ในระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 80.26 โดยกลุ่มตัวอย่าง เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการวางแผนก่อนการซื้ออาหารจะช่วยให้ประมาณค่าใช้จ่ายและได้ของตามความจำเป็น ร้อยละ 73.68 และเห็นด้วยอย่างยิ่งกับการประกอบอาชีพเสริมไม่ได้เป็นการเพิ่มภาระหน้าที่ร้อยละ 61.84 จากผลการศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการให้ความรู้จัดการอบรมและส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริมให้กับประชาชนเพื่อให้ประชาชนมีรายไดเพิ่มขึ้นและเพียงพอในการซื้ออาหารสำหรับคนในครอบครัว
Household Food Security in Mueng Mee Noi Village, Kaunwon Sub-district, Mueng District, Nongkai Province
This cross-sectional descriptive research aimed to study household food security and to propose guidelines for the creation of household food security for the people in Mueng Mee Noi village, Kaunwon Sub-district, Mueng District, Nongkai Province. The sample was 76 people who were responsible for their families’ food. Data were collected by the completion of interview questionnaires in April 2014 and analyzed by descriptive statistics. The results showed that 67.11% of the participants had a high level of household food security and 53.95% had enough food and felt full every meal. However, over half (59.21%) of the participants’ incomes were often inadequate to buy food for household members. A high number of participants (80.26%) required guidelines to create household food security. A large majority (73.68%) strongly agreed with planning before buying food to estimate costs and buy necessities and 61.84% strongly agreed that supplementary occupational work did not increase obligations. This study suggests that relevant organizations should provide training and promote extra work opportunities for people to increase their incomes to buy food for household members.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว