การใช้สื่อสังคมในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

มณูญพงศ์ ศรีวิรัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้สื่อสังคม WordPress และ Facebook ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี และเปรียบเทียบการใช้สื่อสังคมระหว่าง WordPress กับ Facebook โดยมีการเปรียบเทียบไดดั้งนี้ (1) การเขา้ ถึงขอ้ มูลในการจัดการความรู้ WordPress สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่า Facebook (2) การสืบค้นข้อมูลในระบบโดยใช้ Search Engine ข้อมูลใน WordPress สามารถสืบค้นข้อมูลได้สะดวกกว่า โดยที่ Facebook สามารถสืบค้นข้อมูลความรู้ได้เฉพาะกรณีที่เป็นกลุ่มของ Facebook (3) การตรวจสอบจำนวนผู้เข้าชมข้อมูลความรู้ (หัวเรื่อง) WordPress สามารถทราบเฉพาะจำนวนผู้เข้าชมข้อมูลในหัวเรื่อง และสามารถจัดเรียงลำดับหัวเรื่องที่มีผู้เข้าชมมากที่สุด (ลำดับที่ 1 ถึง 10 ได้) แต่จะไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นผู้เข้าชม ส่วน Facebook ทราบเฉพาะผู้ใช้ที่เข้าไปกดชอบ (Like) เท่านั้น (4) การเสนอนำข้อคิดเห็นของผู้ใช้งานอื่นๆ เพื่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการจัดการความรู้ทั้ง WordPress และ Facebook สามารถดำเนินการได้โดยผ่านบัญชีผู้ใช้งาน (5) การนำเสนอหัวเรื่องความรู้ใหม่ WordPress สามารถดำเนินการเฉพาะเจ้าของบัญชีผู้ใช้งานระบบเท่านั้น ส่วน Facebook สามารถดำเนินการทั้งเจ้าของบัญชีผู้ใช้งานและเพื่อนที่เป็นสมาชิกภายในกลุ่มเท่านั้น ทั้งนี้เจ้าของบัญชีผู้ใช้งานและผู้ดูแลกลุ่ม (Admin) สามารถจัดการหัวเรื่อง (หัวข้อ) ดังกล่าวได้ และ (6) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน WordPress ไม่มีค่าใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม จะมีค่าใช้จ่ายเป็นรายปีเมื่อต้องการจัดทำเป็นระบบที่มีชื่อ Domain เป็นการเฉพาะ เช่น .org หรืออื่นๆ ส่วน Facebook ไม่มีค่าใช้จ่ายเช่นกัน ดังนั้น การประยุกต์ใช้สื่อสังคมระหว่าง WordPress กับ Facebook ในการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาท้องถิ่นของจังหวัดอุบลราชธานี ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการใช้งานสำหรับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคต

 

Using Social Media in Knowledge Management for Local Development of Ubon Ratchathani Province

This research article is to aim to study application of using social media: WordPress and Facebook in knowledge management for local development of Ubon Ratchathani province, also to compare using social media between WordPress and Facebook. The experiment of comparing had undertaken to obtain the results as follows : (1) To access information for knowledge management of WordPress was able to access more easily than Facebook. (2) To inquiry system using Search Engine in WordPress was able to search more convenient Facebook that Facebook enabled to search knowledge only in the Facebook group. (3) To determine the number of visitors of WordPress was able to know the number of visitors on the subject, and also to be sorted by the subject with the most visitors (numbers 1 to 10), however not to know if anyone was aware of a particular visitor, but Facebook knew unique users who visiting and press “Like” only. (4) To propose the ideas of other users to exchange opinions in knowledge management both WordPress and Facebook were be done through the user’s Facebook account. (5) To present of a new subject-specific knowledge of WordPress was able to perform just only an owner user accounts, but Facebook was able to perform by both the owner account and friends who were members within the group which an account owner user and group administrators enabled to manage the obtained title (the topic or the subject-specific knowledge). (6) To operate WordPress and Facebook were without cost, however if users want to get a domain name with “.Org”, then WordPress will have to pay specifically for an annual cost. Therefore, the application of social media between WordPress and Facebook in knowledge management for local development of Ubon Ratchathani province will be beneficial in using for a future Information Technology era.

Article Details

บท
บทความวิจัย