ผลการปรับปรุงและพัฒนาแบบประเมินภาวะถอนพิษสุรา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์

Main Article Content

อัครเดช กลิ่นพิบูลย์
พิศวาท ศรีสอน
อมราภรณ์ ฝางแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการปรับปรุงและพัฒนาแบบประเมินภาวะถอนพิษสุรา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ อุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยในระยะถอนพิษสุรา จำนวน 85 คน จิตแพทย์ 3 คน พยาบาลจิตเวช 12 คน โดยใช้ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมองค์ความรู้และเทคโนโลยีด้านสุขภาพจิต กรมสุขภาพจิต (2550) 7 ขั้นตอน รวบรวมข้อมูลจากแบบประเมิน (Prasri Alcohol Withdrawal scale: PAWS) ที่พัฒนาใหม่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและความคิดเห็นต่อการใช้แบบประเมิน วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้นว้ตกรรมใหม่เป็นแบบประเมินภาวะถอนพิษสุรา โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ PAWS ที่ใช้กระดาษแผ่นเดียวแบ่งเป็นช่องคล้ายฟอร์มปรอทใช้ประเมินได้ต่อเนื่อง 4 วัน 2) บุคลากรสามารถจำแนก ประเมินและบันทึกคะแนนได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากแบบฟอร์มมีความชัดเจน ง่าย ไม่ซับซ้อน ทำให้เห็นภาพรวมความรุนแรงของภาวะถอนพิษสุราและการรักษาพยาบาลและเป็นนวัตกรรมที่มีความทันสมัยเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด 3) การบรรลุตัวชี้วัดพบว่า อัตราการหาย/ทุเลาจากภาวะถอนพิษสุรา เท่ากับ 2.35 วัน ไม่มีความคลาดเคลื่อนทางยาเกิดขึ้น

การศึกษาชี้ให้เห็นว่าแบบประเมินใหม่มีความสมบูรณ์ สอดคล้องตรงกับแนวทางการรักษาและแนวปฏิบัติการพยาบาล และมีความสะดวกในการใช้ ดังนั้นการนำแบบประเมินนี้ไปใช้ในโรงพยาบาลน่าจะส่งผลดีต่อการรักษาพยาบาลผู้ป่วย


Results of Adaptation and Development of Prasri Alcohol Withdrawal Scale

This research aimed to evaluate the adaptation and development of the Prasri Alcohol Withdrawal Scale (PAWS). Eighty-five patients admitted for detoxification, three psychiatrists, and twelve psychiatric nurses at Psychiatric 3 ward at Prasrimahabhodi Psychiatric Hospital participated in the study. A process consisting of seven steps based on guidelines of research and mental health technology of the Department of Mental Health (2007) was used. Data were collected by the use of demographic information and satisfaction forms and analyzed by descriptive statistics. A one-page form of the PAWS was used for four consecutive days, and this presented an overview of the severity of alcohol withdrawal and the medical condition. Health care professionals were able to classify, assess, and record the scores accurately as the forms were clear and uncomplicated, and offered the highest level of benefits. The recovery time due to alcohol withdrawal was 2.35 days and no medication errors were observed. This study indicated that the new version of the assessment form was in accord with treatment guidelines and nursing practice regulations, was convenient to use, and promised to have a positive impact on patient care.

Article Details

บท
บทความวิจัย