การวิเคราะห์ปริมาณกรดซาลิไซลิกในตัวอย่างยาด้วยเทคนิคแสควร์-เวฟโวลแทมเทรี โดยใช้ขั้วไฟฟ้าไส้ดินสออย่างง่าย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณกรดซาลิไซลิกด้วยเทคนิคแสควร์-เวฟโวลแทมเมทรี โดยใช้ขั้วไฟฟ้าไส้ดินสอที่พัฒนาขึ้นในห้องปฏิบัติการเป็นขั้วไฟฟ้าทำงาน (ไส้ดินสอที่ใช้นี้เป็นชนิด HB ขนาด 0.7 มิลลิเมตร) จากการทดลองพบว่า ช่วงความเป็นเส้นตรงในการวิเคราะห์กรดซาลิไซลิกมีค่าอยู่ระหว่าง 2.0 ถึง 20.0 มิลลิโมลาร์ ด้วยขีดจำกัดตํ่าสุดในการตรวจวัด (LOD) เท่ากับ 1.3 มิลลิโมลาร์ นอกจากนี้ได้ศึกษาความเที่ยงในการวิเคราะห์ด้วยขั้วไฟฟ้าไส้ดินสอที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาความเที่ยงในการวิเคราะห์วันเดียวกัน (Intraday) และต่างวันกัน (Interday) พบว่ามีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ (%RSD) เท่ากับ 3.4 (n=7) และ 7.6 (n=5) ตามลำดับ และเมื่อนำขั้วไฟฟ้าที่พัฒนาขึ้นนี้ไปวิเคราะห์ปริมาณกรดซาลิไซลิกในตัวอย่างยาโดยเปรียบเทียบกับวิธี ‘Trinder test’ ซึ่งจัดเป็นวิธีมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ พบว่า ผลที่ได้เป็นที่น่าพอใจและไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95
Square-wave Voltammetric Determination of Salicylic Acid Content in Pharmaceutical Products using a Simple Pencil Lead Electrode
This research reported the determination of salicylic acid analyzing by the square-wave voltammetric method on a simple pencil-lead electrode. The pencil-lead electrode (Pentel Super Hi-Polymer 0.7 mm Medium Line HB Lead) was fabricated as a working electrode in the laboratory. The method was linear over the salicylic acid concentration range 2.0-20.0 mM, with a detection limit of 1.3 mM. In addition, precise study of analysis using the pencil-lead electrode was also investigated. It was observed that the percentages of relative standard deviation (%RSD) for intra-day and inter-day were 3.4% (n=7) and 7.6% (n=5) respectively.Furthermore, the proposed system was applied for salicylic acid analysis in pharmaceutical samples. The results provided good agreement compared to the ‘Trinder test’ as a standard method.
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว