ผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวนา บ้านเตย ตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสังค์เพื่อศึกษา ผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวนาบ้านเตย ตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 143 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างทำนาโดยเกษตรกรทำนาใช้สารป้องกันและกำจัดวัชพืชมากที่สุดร้อยละ 93.00 รองลงมาคือใช้สารป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืชใช้ ร้อยละ 74.10 และ ใช้สารป้องกันและกำจัดโรคพืช ร้อยละ 53.80 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างใช้สารเคมีกลุ่ม Neonicotinoid มากที่สุด ร้อยละ 76.42 รองลงมาคือสารเคมีกลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates ร้อยละ 64.94 และสารเคมีกลุ่มGlyphosate ร้อยละ 57.14 โดยปริมาณที่เกษตรกรชาวนาใช้ จะใช้ในปริมาณที่ฉลากกำหนด ร้อยละ 93.7 เกษตรกรมีอาการผิดปกติจากการสัมผัสสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในระยะ 6 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ 48.95 ซึ่งพบมากที่สุดในระบบดวงตา ได้แก่ ระคายเคืองตา ร้อยละ 54.29 รองลงมาคืออาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ เจ็บคอหรือคอแห้ง ร้อยละ 41.43 และระคายเคืองจมูก ร้อยละ 40.00 และกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ระดับดี(ร้อยละ 95.10) พฤติกรรมที่ดีมากที่สุดคือการไม่สูบบุหรี่ในระหว่างการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการไม่กินอาหารหรือดื่มน้ำขณะฉีดพ่นสารเคมีกำจักศัตรูพืช(ร้อยละ 100.00) รองลงมาคือ การอาบน้ำทันทีหลังจากฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช(87.40) และการจัดเก็บสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในที่เก็บแยกเฉพาะ(ร้อยละ86.00) ตามลำดับ แต่พบว่า มีพฤติกรรมที่ควรปรับปรุง ในเรื่องการผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืช มากกว่า 2 ชนิดขึ้นไปในการฉีดพ่นแต่ละครั้ง ซึ่งอาจจะส่งผลทางด้านเพิ่มความเป็นอันตรายทางสารเคมี ด้วยเหตุนี้บุคลากรสาธารณสุข ตำบลนากระแซง อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้มีการอบรมให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการผสมสารเคมีกำจัดศัตรูพืชมากกว่า 2 ชนิดขึ้นไป ให้ถูกวิธี รวมถึงอบรมเกษตรกรเกี่ยวกับการให้ความรู้ด้านความเป็นอันตรายและผลกระทบสุขภาพจากการใช้สารเคมีแบบผิดวิธี เพื่อลดผลกระทบสุขภาพอันเกิดจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรชาวนา
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว