การย่อยสลายสารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอทโดยจุลินทรีย์ในดินตะกอน ภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนและไนเทรต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ศึกษาถึงการย่อยสลายสารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอทโดยจุลินทรีย์ในสารละลายดินตะกอนจากนาข้าวภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนและไนเทรต โดยทำการศึกษา 3 ชุดการศึกษา คือ ชุดการทดลอง (สารละลายตะกอน ที่เติม 0.1 มิลลิโมลาร์ สารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอท) ชุดฆ่าเชื้อ (สารละลายตะกอนที่ปลอดเชื้อ ที่เติม 0.1 มิลลิโมลาร์ สารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอท) และชุดควบคุม (ชุดที่มีการเติมสารละลายตะกอนเท่านั้น) ผลการศึกษาพบว่าจุลินทรีย์ในดินตะกอนสามารถย่อยสลายสารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอทที่เติม ณ ความเข้มข้น 0.1, 0.1 และ 0.3 มิลลิโมลาร์ โดยเกิดการย่อยสลายภายในระยะเวลา 4, 2 และ 5 วันของการทดลอง ตามลำดับ โดยในระหว่างการย่อยสลายพบสารเมแทบอไลท์ที่เกิดขึ้นของสารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอท คือ ฟีนอล เพียงเล็กน้อยแต่ไม่มีการเกิดก๊าซ รวมทั้งมีการใช้สารไนเทรตตลอดการทดลอง โดยพบปริมาณสารไนเทรตเหลือเท่ากับ 4.50 มิลลิโมลาร์ ในวันสุดท้ายของการทดลอง และเกิดการสะสมของไนไทรต์เพิ่มขึ้นตามระยะเวลาในการทดลองโดยมีค่าเท่ากับ 0.45 มิลลิโมลาร์ ในวันสุดท้ายของการทดลอง ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าจุลินทรีย์ในสารละลายดินตะกอนมีความสามารถการย่อยสลายสารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอทภายใต้สภาวะที่มีออกซิเจนและไนเทรต
คำสำคัญ : สารพาราไฮดรอกซีเบนโซเอท การย่อยสลาย สารละลายดินตะกอน แอโรบิค ดีไนทริฟิเคชัน
Abstract
This study investigated the biodegradation of p-hydroxybenzoate by microorganisms in sediment-slurry from rice paddy soil under aerobic denitrifying conditions. Three treatments were established, active treatment (sediment slurry added with 0.1 mM p-hydroxybenzoate), sterile treatment (sterile sediment slurry added with 0.1 mM p-hydroxybenzoate), and the control (sediment slurry only). Results showed that the microorganisms in sediment degraded p-hydroxybenzoate at concentrations of 0.1, 0.1, and 0.3 mM within 4, 2, and 5 days of the experiment respectively. A small amount of phenol and no gas were found in the biodegradation of p-hydroxybenzoate treatment. Nitrate accumulation was also found in the biodegradation of p-hydroxybenzoate treatment throughout the experiment and 4.50 mM of nitrate was found on the final day of the experiment. In conclusion, microorganisms in sediment-slurry were capable of degrading p-hydroxybenzoate under aerobic denitrifying conditions.
Keywords: p-hydroxybenzoate; Biodegradation; Sediment-slurry; Aerobic denitrification
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว