การแพร่กระจายของแบคทีเรียทั้งหมด และ Staphylococcus aureus บนโทรศัพท์มือถือของบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล เขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

สุดสายชล หอมทอง
กิ่งแก้ว อินทนน
รุ่งทิวา เดชสง่า
อริศา อ่อนสุวรรณ

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การศึกษาการแพร่กระจายของแบคทีเรียทั้งหมดและ Staphylococcus aureus บนโทรศัพท์มือถือของบุคลากรทางการแพทย์ ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล เขตอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม พ.ศ. 2556 จำนวน 63 ตัวอย่าง ด้วยวิธี Swab test และการเพาะเชื้อ ด้วยวิธีมาตรฐานทางจุลชีววิทยานั้นพบว่า พบการปนเปื้อนของแบคทีเรียในตัวอย่างโทรศัพท์ทุกตัวอย่าง (100 เปอร์เซ็นต์) โดยปริมาณแบคทีเรียทั้งหมด (Aerobic plate count, APC) ที่พบมีค่าอยู่ในช่วง 5.39 ± 3.15 – 6.06 ± 0.64×104 CFU/cm2 ซึ่งปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดที่พบในตัวอย่างโทรศัพท์ทุกตัวอย่างนี้ล้วนมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานทางจุลชีววิทยาสำหรับบ่งชี้สุขลักษณะของพื้นผิวสัมผัสภายในโรงพยาบาลทั้งสิ้นซึ่งควรมีปริมาณน้อยกว่า 5 CFU/cm2 สำหรับการปนเปื้อนของ S. aureus บนตัวอย่างโทรศัพท์มือถือ พบเพียง 1 ตัวอย่าง (1.59 เปอร์เซ็นต์) เท่านั้น ในปริมาณ 0.19 ± 0.33 CFU/cm2 และเมื่อนำ S. aureus ที่แยกได้จากตัวอย่างโทรศัพท์มือถือนี้ไปทดสอบความไวต่อสารต้านจุลชีพพบว่า S. aureus นี้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะ Penicillin และ Ampicillin และไวต่อยาปฏิชีวนะ Cefoxitin, Oxacillin และ Gentamicin จากผลการศึกษานี้จึงแสดงให้เห็นว่ามีการปนเปื้อนของ S. aureus และในส่วนของปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดที่พบในตัวอย่างโทรศัพท์ทุกตัวอย่างนั้นยังมีค่าเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐานทางจุลชีววิทยาอีกด้วย ดังนั้นเพื่อสุขลักษณะที่ดีแล้วบุคลากรทางการแพทย์รวมถึงผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลที่ต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วยควรมีการทำความสะอาดโทรศัพท์อย่างถูกวิธีเป็นประจำ เพื่อที่จะช่วยลดการปนเปื้อนและไม่ให้โทรศัพท์มือถือเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค รวมถึงจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับเชื้อลดการแพร่กระจาย และยังช่วยป้องกันการเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อในโรงพยาบาลได้อีกด้วย

คำสำคัญ:  แบคทีเรียทั้งหมด Staphylococcus aureus โทรศัพท์มือถือ บุคลากรทางการแพทย์

Abstract

            The aim of this study was to determine the prevalence of total bacteria and Staphylococcus aureus on healthcare workers’ mobile phones in hospital at Ampoe Meungchonburi, Chonburi province. Sixty three samples were collected between November and December, 2013 using swab test, cultured and examined by standard microbiological laboratory methods. The result showed that amounts of the total bacteria (Aerobic plate count, APC) in mobile phone samples were 5.39 ± 3.15 CFU/cm2 – 6.06 ± 0.64×104 CFU/cm2 and all of mobile phone samples were contaminated with bacteria (100%). The amounts of total bacteria in all samples were higher than those from the microbiological standard value of indicator of surface hygiene in hospitals which should be less than <5 CFU/cm2. According to the result, only one mobile phone sample was found contaminated by S. aureus (1.59%) with the concentration of  0.19 ± 0.33 CFU/cm2. Thereafter S. aureus was conducted to determine for antibiotic susceptibility testing, which revealed that this bacteria resisted Penicillin and Ampicillin, and was sensitive to Cefoxitin, Oxacillin and Gentamicin.  The results of the present study indicated that  bacterial contamination of all the tested mobile phones, S. aureus  and total amounts of bacteria  had the value higher than those of the microbiological standard of surface hygiene in hospitals. Therefore healthcare workers in hospital who use mobile phone usually should be cleaned in the right way in order to reduce bacterial contamination and protect a mobile phone from being a reservoir of these pathogens. This can reduce the risk of bacterial infection  and transmissions and can also prevent the outbreak of nosocomial infection as well.

 

Keywords: Total bacteria; Staphylococcus aureus; Mobile phone; Healthcare workers

Article Details

บท
บทความวิจัย