การเปรียบเทียบคุณสมบัติการกักเก็บความร้อนของวัสดุเปลี่ยนสถานะระหว่างกรดสเตียริกกับพาราฟินและกรดสเตียริกกับกรดอะซีติก
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติการกักเก็บความร้อนของวัสดุเปลี่ยนสถานะระหว่างกรดสเตียริกผสมกับพาราฟินและกรดสเตียริกผสมกับกรดอะซีติก ปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ ระยะเวลาในการกักเก็บความร้อนของกรดสเตียริกผสมกับพาราฟิน และกรด สเตียริกผสมกับกรดอะซีติกที่อัตราส่วนโดยมวลต่างๆ จากนั้นทดสอบสมบัติทางความร้อนของวัสดุเปลี่ยนสถานะ วิเคราะห์โครงสร้างของวัสดุเปลี่ยนสถานะ และทดสอบความเสถียรภาพของวัสดุเปลี่ยนสถานะ ผลการทดลองพบว่าวัสดุเปลี่ยนสถานะที่เตรียมจากกรดสเตียริกผสมกับพาราฟิน ที่อัตราส่วนโดยมวลเท่ากับ 3:1 มีการคายความร้อนช้าหรือสามารถรักษาอุณหภูมิได้นาน เป็นเวลา 300 นาที โดยมีอุณหภูมิลดลงอย่างรวดเร็วในช่วง 120 นาทีแรกจนกระทั่งคงที่ที่ 46.67 ๐C มีอุณหภูมิการหลอมเหลวเท่ากับ 48.07 ๐C อุณหภูมิการกลายเป็นของแข็งเท่ากับ 53.02 ๐C ความร้อนแฝงของการหลอมเหลวเท่ากับ 187.59 J/g และความร้อนแฝงของการกลายเป็นของแข็งเท่ากับ 189.29 J/g ไม่มีการเกิดพันธะใหม่ในโครงสร้างของกรดสเตียริกผสมกับพาราฟินที่อัตราส่วนโดยมวล 3:1 นอกจากนี้วัสดุเปลี่ยนสถานะที่เตรียมขึ้นยังมีเสถียรภาพทางความร้อนที่ดีอีกด้วย จากผลการทดลองข้างต้น วัสดุเปลี่ยนสถานะระหว่างกรดสเตียริกผสมกับพาราฟินที่อัตราส่วนโดยมวล 3:1 จึงเหมาะสมที่จะนำไปประยุกต์ใช้รักษาความร้อนในเครื่องอบพลังงานแสงอาทิตย์และประยุกต์ใช้สำหรับระบบอาคารอนุรักษ์พลังงาน
Article Details
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว