การสำรวจการปนเปื้อนจุลินทรีย์ ยาฆ่าแมลงและสีสังเคราะห์ของอาหารทะเลแห้ง ที่จำหน่ายในตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

Subuntith Nimrat

บทคัดย่อ

อาหารทะเลแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมในการบริโภคของคนไทย เนื่องจากเป็นอาหารที่มีรสชาติดีและมีคุณค่าทางโภชนาการสูง อย่างไรก็ตามอาหารทะเลแปรรูปสามารถปนเปื้อนด้วยจุลินทรีย์ก่อโรคและสารพิษตกค้างได้ง่ายอันเนื่องมาจากการขาดสุขลักษณะที่ดีในกระบวนการผลิตและจำหน่าย ทำให้เกิดอันตรายด้านสุขภาพของผู้บริโภค การศึกษานี้จึงได้สำรวจคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแห้งที่จำหน่ายในตลาดหนองมน จังหวัดชลบุรี จำนวน 64 ตัวอย่าง โดยการวิเคราะห์ความชื้นและการปนเปื้อนจุลินทรีย์ (แบคทีเรียกลุ่มเอนเทอโรแบคทีเรียซีอี ยีสต์และรา) ยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมต และสีสังเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่าอาหารแห้งกลุ่มกุ้งแห้งและหมึกแห้งมีความชื้นเกินมาตรฐานตามประกาศผลิตภัณฑ์ชุมชน อาหารทะเลแห้งมีการปนเปื้อนแบคทีเรียกลุ่มเอนเทอโรแบคทีเรียซีอีอยู่ในช่วง 0 - 1.04 ± 0.04 x 105 CFU/g และไม่ผ่านมาตรฐานเนื่องจากการปนเปื้อนยีสต์และราเกินค่ามาตรฐานสูงถึงร้อยละ 82.8 โดยมีปริมาณอยู่ในช่วง 0 - 7.17 ± 2.26 x 104 CFU/g รวมทั้งอาหารทะเลแห้งยังตรวจพบการตกค้างของยาฆ่าแมลงกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตร้อยละ 12.5 ในตัวอย่างกลุ่มปลากรอบปรุงรส ปลาเค็ม ปูกรอบปรุงรส หมึกแห้ง และกุ้งแห้ง และการตกค้างของสีสังเคราะห์ร้อยละ 21.9 ในอาหารกลุ่มปูกรอบปรุงรส หมึกบด กุ้งแห้ง ปลาแดดเดียว และหมึกปรุงรสพร้อมบริโภค การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าอาหารทะเลแห้งเป็นแหล่งการปนเปื้อนของจุลินทรีย์และสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้บริโภคได้

Article Details

บท
Articles

References

สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการจัดทำแผนรับมือใน ภาวะฉุกเฉินความปลอดภัยอาหารของประเทศไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: อักษรกราฟฟิกแอนด์ดีไซด์; 2557.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511. [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุตสาหกรรม; 2558. [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://tcps.tisi.go.th/public/StandardList.aspx

ชยาภรณ์ ศรีสมุทรนาค, ภาวินี ด้วงเงิน. สถานการณ์โรคอาหารเป็นพิษ (ยกเว้นโรคอาหารเป็นพิษจากเห็ด) ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556-2560. รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจําสัปดาห์ 2562;50:117-23.

McManus A, Newton W. Seafood, nutrition and human health: a synopsis of the nutritional benefits of consuming seafood. Perth: Centre of Excellence Science, Seafood & Health, Curtin Health Innovation Research Institute, Curtin University of Technology; 2011.

กลุ่มวิจัยและวิเคราะห์สถิติการประมง กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมง กรมประมง. สถิติหน่วยธุรกิจการประมง ปี 2561. กรุงเทพฯ: กรมประมง, กระทรวงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2562.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย. คู่มือการปฏิบัติงานด้านสุขาภิบาลอาหารและน้ำสำหรับสาธารณสุขอำเภอ กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2556.

Feldhusen F. The role of seafood in bacterial foodborne diseases. Microb Infect 2000;2:1651-60.

Silbernagel KM, Lindberg KG. Evaluation of the 3M Petrifilm Enterobacteriaceae count plate method for the enumeration of Enterobacteriaceae in foods. J Food Protect 2002;65:1452-56.

บัญญัติ สุขศรีงาม, พรรนิภา ศิริเพิ่มพูน, อภิรดี ปิลันธนภาคย์, ศิริโฉม ทุ่งเก้า, สุบัณฑิต นิ่มรัตน์, สุดารัตน์ สวนจิตร, กฤชณัท เอื้ออังกูร, นิสา ไกรรักษ์, ปริยา ปะบุญเรือง, สุดสายชล หอมทอง, กาญจนา หริ่มเพ็ง, วรนาฏ จงโยธา, จิระสันต์ มีรัตน์, สมศักดิ์ จำปาทอง. สถานการณ์การปนเปื้อนและการพัฒนาเทคนิคในการตรวจวัดจุลินทรีย์ก่อโรคในอาหารทะเลแห้ง เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์ตรวจจุลินทรีย์และการรับรองมาตรฐานสินค้าอาหารแห้ง. รายงานการวิจัย คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา; 2551.

สุนันทา โอศิริ, ประมุข โอศิริ. สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารทะเลในภาคตะวันออก. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2552;32:74-86.

Reddy KRN, Salleh B, Saad B, Abbas HK, Abel CA, Shier WT. An overview of mycotoxin contamination in foods and its implications for human health. Toxin Rev 2010;29:3-26.

Turner PC, Flannery B, Isitt C, Ali M, Pestka J. The role of biomarkers in evaluating human health concerns from fungal contaminants in food. Nutr Res Rev 2012;25:162-79.

หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร. สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ณ สถานที่จำหน่าย (ส่วนภูมิภาค). กรุงเทพฯ: สำนักอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

อุดม เครือวัลย์, ชาญศักดิ์ คำมาตร. การตรวจหาออร์แกโนคลอรีนในอาหารทะเลตากแห้งบางชนิด. จันทบุรี: คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี; 2552.

พัชรี ภคกษมา, สุวรรณี สายสิน, ศรมน สุทิน. การตรวจสอบสารเคมีฆ่าแมลงตกค้างของสารกลุ่มออร์กาโนฟอตเฟตและคาร์บาเมตในผักในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี) 2559;5:22-30.

Vale JA, Bradberry SM. Organophosphate and carbamate insecticide. In: Brent J, editor. Critical care toxicology. Cham: Springer International Publishing AG; 2017. p. 1829-53.

เวณิกา เบ็ญจพงษ์, อาณดี นิติธรรมยง, จักรกฤษณ์ สกลกิจติณภากุล. สีสันในอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร; 2563.

Finney M, Smullen J, Foster HA, Brokx S, Storey DM. Evaluation of Chromocult coliform agar for the detection and enumeration of Enterobacteriaceae from faecal samples from healthy subjects. J Microbiol Methods 2003;54:353-8.

Tournas V, Stack ME, Mislevic PB, Koch H A, Bandler R. [Internet]. Bacteriological analytical manual chapter 18 yeasts, molds and mycotoxins. [updated 2017 Oct 31; cited 2021 Sep 22]. U.S. Food & Drug Administration. Available from: http://www.fda.gov/food/laboratory-methods-food/bam-yeasts-molds-and-mycotoxins

สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. ชุดทดสอบอาหาร (Food testkit). [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2563 [เข้าถึงเมื่อ 22 ก.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/index.php/food-testkit/

Al Mamun M, Turin TC. Safety of street foods. In: Kotzekidou P, editor. Food hygiene and toxicology in ready-to-eat foods. Academic Press;2016. p.15-29. https://doi.org/10.1016/B978-0-12-801916-0.00002-9.

Al Bulushi IM, Guizani N, Ayyash M, Al Za'abi M, Abushelaibi A, Deeth HC, et al. Bacterial diversity, biogenic amines and lipids oxidation in traditional dried anchovy (Encrasicholina punctifer) during ambient storage. Int J Food Stud 2020;9:238-50.

World Health Organization. Antimicrobial resistance: global report on surveillance. Paris: World Health Organization; 2014.

กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง. ข้อกำหนดสุขลักษณะในการผลิตผลิตภัณฑ์ประมง (Good manufacturing practices) พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: กองตรวจสอบรับรองมาตรฐานคุณภาพสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ กรมประมง; 2555.

กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร. คู่มืออาหารปลอดภัยใส่ใจสุขภาพ. กรุงเทพฯ: บริษัท พีทู ดีไซน์ แอน พริ้นท์ จำกัด; 2559.