แบคทีเรียปฏิปักษ์ที่มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อราก่อโรคในข้าว

Main Article Content

วาสนา เนียมแสวง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของแบคทีเรียปฏิปักษ์ไอโซเลท G5-5ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเชื้อราในสภาพเรือนทดลอง จากผลการทดลองที่นำต้นข้าวอายุ 12 วัน มาฉีดพ่นด้วยเซลล์แบคทีเรีย       5 x 108 เซลล์ต่อมิลลิลิตร ปริมาตร 15 มิลลิลิตรต่อต้น ภายหลังจากการฉีดพ่น 17 วัน เริ่มทำการศึกษาการควบคุมโรคในใบข้าว โดยการเก็บเกี่ยวสปอร์เชื้อรา Bipolaris oryzae ที่ 1010 สปอร์ต่อมิลลิลิตร ฉีดพ่น 15 มิลลิลิตรต่อต้น จากนั้นพืชจะถูกเก็บไว้ในห้องมืดและปกคลุมด้วยแผ่นพลาสติกสีดำเป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วเปิดพืชให้ได้รับแสง 12 ชั่วโมง และไว้ในที่มืด 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 3-7 วัน ทำการเก็บข้อมูลจากใบข้าวที่เป็นโรค พบว่า มีค่าดัชนีความรุนแรงของโรค เท่ากับ 41.00 เปอร์เซ็นต์ มีระดับความต้านทานโรคอยู่ในระดับ moderate susceptible และมีประสิทธิภาพการควบคุมโรค เท่ากับ 54.61 เปอร์เซ็นต์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา  Rhizoctonia solani  โดยนำต้นข้าวมาทำการพ่นเซลล์แบคทีเรียก่อนปลูกเชื้อรา เป็นเวลา 3 วัน จากนั้นปลูกเชื้อรา โดยใช้ cork borer เจาะชิ้นวุ้นอาหาร PDA ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร หลังจากปลูกเชื้อราแล้ว ฉีดพ่นเซลล์แบคทีเรียต่ออีก 2 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 วัน เมื่อปลูกเชื้อเป็นเวลา 7 วัน สังเกตลักษณะอาการของโรค พบว่า เปอร์เซ็นต์ความรุนแรงของโรค และเปอร์เซ็นต์หน่อที่เกิดโรค มีค่าเท่ากับ 14.16 และ 100 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และเมื่อนำแบคทีเรียมาศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้น พบว่า โคโลนีมีสีขาวใส รูปร่างนูน เยิ้ม ขอบหยัก ผิวหน้าด้าน เป็นแบคทีเรียแกรมบวก มีรูปร่างแท่ง มีการจัดเรียงตัวของเซลล์เดี่ยวและต่อกันเป็นสาย มีการสร้างเอนโดสปอร์ จึงจัดว่าเป็นแบคทีเรียสกุล Bacillus

Article Details

บท
Articles

References

วชิราวุธ ชนะเคน. การวิเคราะห์ลักษณะประจำพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต่างกัน และการตอบสนองต่อปุ๋ยไนโตรเจนของข้าวไร่พันธุ์ท้องถิ่นที่บ้านอาโยะใหม่ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

สายชล โนชัย, สมบัติ ศรีชูวงศ์. ประสิทธิภาพของเชื้อราปฏิปักษ์ที่แยกได้จากเมล็ดข้าวขาวดอกมะลิ 105 ในการควบคุมโรคถอดฝักดาบในต้นกล้าข้าว. วารสารเกษตร 2550;23(1):59-65.

ปิลันธนา ฐาปนพงษ์วรกุล, ศราวิชญ์ สายมงคล. ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus megaterium สายพันธุ์ No.16 ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าวพันธุ์ กข6. วารสารเกษตร 2558;31(3):301-10.

ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์, ธิดา เดชฮวบ, วาริน อินทนา. การประยุกต์ใช้ร่วมกันของผงเชื้อ Trichoderma sp. และ Bacillus sp. ต่อการควบคุมโรคเมล็ดด่างที่เกิดจาก Bipolaris oryzae ในข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2561;49(1):15-26.

Rajasekar G, Ebenezar EG, Thiruvudainambi S, Vanniarajan C, Shanthi M. Antifungal activity of rice associated phyllosphere (RAP) communities against brown spot of rice (Bipolaris oryzae). Journal of Pharmacognosy and Phytochemistry 2019;8(6):171-5.

เจษฎากร หลวงมณี, ปรเมศ บรรเทิง, อนันต์ วงเจริญ. การประเมินความต้านทานของโรคใบไหม้ของข้าวเหนียวดำในระยะแตกกอหลังการปลูกเชื้อ 7 และ 14 วัน. วารสารแก่นเกษตร 2559;44(ฉบับพิเศษ 1):1126-30.

พากเพียร อนัญนารถ, นงรัตน์ นิลพานิชย์, วิชิต ศิริสันธนะ, สมคิด ดิสถาพร. ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis ในการควบคุมโรคกาบใบแห้งของข้าว. วารสารวิชาการเกษตร 2544;19(1):4-12.

Tokpah DP, Li H, Wang L, Liu X, Mulbah QS, Liu H. An assessment system for screening effective bacteria as biological control against Magnaporthe grisea on rice. Biological Control 2016;103:21-9.

จิระเดช แจ่มสว่าง, วรรณวิไล อินทนู, บังอร น้อยใสย์. ประสิทธิภาพของชีวภัณฑ์ Bacillus siamensis RRK1–Rif ในการลดการเกิดโรคกาบใบแห้งและโรคเมล็ดด่างของข้าว. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร 2561;49(1):1-14.

Nicholson WL, Munakata N, Horneck G, Melosh HJ, Setlow P. Resistance of Bacillus endospores to extreme terrestrial and extraterrestrial environments. Microbiol Mol Biol Rev 2000;64(3):548-72.

ชนสิริน กลิ่นมณี, เสาวนีย์ ศรีบัว. การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ควบคุมโรคใบจุดสีน้ำตาลข้าว. ในการประชุมวิชาการข้าวและธัญพืชเมืองหนาว ครั้งที่ 35 พ.ศ. 2561; วันที่ 26-28 มิถุนายน 2561; โรงแรมแซนด์ ดูนส์ เจ้าหลาว บีช รีสอร์ท. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2561. หน้า132-40.

ดาราวดี วงษ์ชาลี. ประสิทธิภาพของเชื้อแบคทีเรียปฏิปักษ์ Bacillus สูตร ENCAPSULATE ในการควบคุมโรค แอนแทรคโนสของพริก [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2558.