การพัฒนาสูตรสบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชัน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ตะไคร้และขมิ้นชันเป็นพืชสมุนไพรที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทั้งในการประกอบอาหารและยารักษาโรคด้วยสรรพคุณที่สามารถบรรเทาอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและจากการศึกษาพบว่ายังมีความสามารถในการต้านออกซิเดชัน ดังนั้น ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชัน 2) เพื่อพัฒนาสบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชัน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชัน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 การเตรียมสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชัน ขั้นที่ 2 ศึกษาฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชันด้วยวิธี DPPH และขั้นที่ 3 พัฒนาสูตรสบู่เหลวใบตะไคร้และขมิ้นชันและศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สบู่เหลวใบตะไคร้และขมิ้นชัน ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้และขมิ้นชันสามารถยับยั้งอนุมูล DPPH ได้ มีค่า IC50 เท่ากับ 19 ppm และ 32 ppm ตามลำดับ และนำมาพัฒนาสูตรสบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้และขมิ้นชันจำนวน 4 สูตร ประกอบด้วย สบู่เหลวสมุนไพรใบตะไคร้ จำนวน 2 สูตร ที่มีความเข้มข้นของสารสกัดเอทานอลจากใบตะไคร้ 19 และ 29 ppm ตามลำดับ และสบู่เหลวสมุนไพรขมิ้นชัน จำนวน 2 สูตร ที่มีความเข้มข้นของสารสกัดเอทานอลจากขมิ้นชัน 32 และ 42 ppm ตามลำดับ และจากผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้พบว่าสบู่เหลวสมุนไพรสูตร F1L, F2L และ F2T ผู้ใช้มีความพึงพอใจในระดับมากซึ่งสามารถนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ PBRU Science Journal
References
คณะเภสัชศาสตร์. ข้อมูลพืชสมุนไพร [อินเทอร์เน็ต]. มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2565 [เข้าถึงเมื่อ 25 มิถุนายน 2565]. เข้าถึงได้จาก https://pharmacy.su.ac.th/herbmed/herb/text/herb_detail.php?herbID=96.
ปณาลี เสมเถื่อน. ตะไคร้ ยาก้นครัว สมุนไพรไกลโรค. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุคส์; 2554.
เอนก หาลี, บุณยกฤต รัตนพันธุ์. การศึกษาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระจากพืชผักสมุนไพรพื้นบ้าน 15 ชนิด. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ 2560;40:283–93.
กมลฉัตร อ่องมะลิ, อัจฉรา แสงจันทร์, สลิล ชั้นโรจน์. การยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ในระบบทางเดินอาหารและการต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดหยาบจากใบตะไคร้. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 2560;22:42–54.
Palamutoglu R, Kasnak C, Dursun M, Nur Ünaldi R, Özkaplan N. Determination of phenolic contents and antioxidant activities of infusion prepared from lemongrass. Carpath J Food Sci Technol 2020;14:98–109.
พิมพ์ชนก โล่ห์ทองคํา, วณิชยา คล่องแคล่ว, เนาวรัตน์ แจ่มใส, มณฑล วิสุทธิ. ฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย Staphylococcus intermedius ของสารสกัดจากพืชสมุนไพร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2563;3:57–70.
ปานทิพย์ รัตนศิลป์กัลชาญ, เกตุแก้ว จันทร์จำรัส, ภรณ์ทิพย์ นราแหวว, อุมาภรณ์ ผ่องใส. การพัฒนาสบู่เหลวจากสมุนไพรไทยและทดสอบฤทธิ์เบื้องต้นในการต้านทานต่อเชื้อสแตฟฟีโลคอกคัสออเรียสที่ดื้อยาเมทิซิลิน (MRSA). วารสารมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติวิชาการ 2557;18:47–60.
นงเยาว์ เทพยา. ความมหัศจรรย์ของสบู่สมุนไพร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2549;1:156-64.
ณัฐวรรณ วรรณมณี, ภัทรดรา สิริวัฒนาวรกุล, สุกัญญา มูณี, อนงค์นาถ มณีโชติ, วิทวัส หมาดอี, กุสุมาลย์ น้อยผา. การศึกษาสารพฤกษเคมีเบื้องต้น ปริมาณฟีนอลิกและฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดสมุนไพรเพื่อพัฒนาเป็นเซรั่มสมุนไพรบํารุงมือ. วารสารหมอยาไทยวิจัย 2564;7:31–44.
ยามีละ ดอแม, ลัดดาวัลย์ ชูทอง. การพัฒนาเจลจากสารสกัดลูกประคบสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. วารสารศิลปการจัดการ 2564;5:862–76.
ศุภรัตน์ ดวนใหญ่, ชารินันท์ แจงกลาง, อัจฉรา แก้วน้อย, เพชรน้ำผึ้ง รอดโพธิ์, อาวุธ หงษ์ศิริ. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ สารประกอบฟีนอลิกรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์รวมของสารสกัดพิกัดตรีสมอ พิกัดตรีสัตกุลา พิกัดตรีผลสมุฏฐาน. วารสารหมอยาไทยวิจัย 2564;7:93–104.
รัตนา เพ็งเพราะ, ภาวิณี ศิลาเกษ, สันธยา บุญรุ่ง, ปกฉัตร กุศลกรรมบถ. ผลของสารต้านอนุมูลอิสระและสารสกัดหยาบเนียมหอมร่วมกับสมุนไพรพื้นบ้าน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2565;21:208–24.
Jyoti J, Ayon T, Chakkaravarthi S, Bhaswati B. Assessment of Antioxidant and Antimicrobial Property of olyphenol-Rich Chitosan-Pineapple Peel Film. J Food Qual 2022;1-10.
Marwa Ezz El-Din I, Randah Miqbil A. Anti-fungal and antioxidant properties of propolis (bee glue) extracts. Int J Food Microbiol 2022;361:1-7.