การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อรองรับระบบสมาร์ทกริดในอนาคต
Main Article Content
บทคัดย่อ
ระบบสมาร์ทกริด (Smart Grid) หรือสายส่งอัจฉริยะ เป็นการพัฒนาต่อยอดมาจากระบบ ไมโครกริด หรือการพัฒนาให้ระบบไฟฟ้าตอบสนองต่อการทํางานได้อย่างชาญฉลาดโดยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology: ICT) ระบบเซ็นเซอร์ ระบบเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีทางด้านการควบคุมอัตโนมัติ เพื่อทําให้ระบบไฟฟ้ารับรู้ข้อมูลสถานะต่าง ๆ นำมาใช้ในการตัดสินใจอย่างอัตโนมัติและเป็นโมเดลที่ใช้ในการแก้ปัญหาพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคตเป็นระบบนวัตกรรมที่ใช้การบริหารจัดการด้วยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาควบคุมการผลิต ส่งและจ่ายพลังงานไฟฟ้า รวมทั้งสามารถรองรับการเชื่อมต่อจากแหล่งพลังงานทุกชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีความมั่นคง ปลอดภัย เชื่อถือได้ มีคุณภาพไฟฟ้าได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะมีความเหมาะสมกับการนำมาใช้แก้ปัญหาแหล่งพลังงานที่มีอยู่น้อยและไม่เพียงพอกับการพัฒนาประเทศไทย ในทุกภาคส่วนทั้งการอยู่อาศัย พาณิชย์กรรมหรืออุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐและสถาบันต่าง ๆ ซึ่งผลสรุปจากการใช้สมาร์ทกริดในประเทศต่าง ๆ พบว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เนื่องจากการใช้ไฟฟ้าในอนาคตมีอัตราการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา โดยสมาร์ทกริดเป็นการจัดการพลังงานที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะนำไปใช้ในการกำหนดเป็นนโยบายที่เป็นรูปธรรมต่อไปในอนาคต
Article Details
References
2. Amir Hosein Ghaffarian Hosein, Nur Dalilah Dahlan, Umberto Berardi, Ali Ghaffarian Hoseini and Nastaran Makaremi. 2013. The essence of future smart houses: From embedding ICT to adapting to sustainability principles. Available from: URL:http://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1364032113001342 June 27, 2017
3. สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2561. สถานการณ์พลังงาน.ได้จาก:URL: http://www.teenet. chula.ac.th/energy/detail1-1.asp?id= 339.html 24 มกราคม 2561
4. กระทรวงพลังงาน. การบริหารระบบจัดการพลังงาน. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน; 2560.
5. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2561. ปริมาณการจัดหาพลังงานจำแนกตามแหล่งพลังงาน พ.ศ. 2560-2564. ได้จาก: URL: http://service.nso.go.th/nso/nso_center/project/search_center/ 18 มีนาคม 2561
6. กระทรวงพลังงาน. 2561. ยุทธศาสตร์พลังงาน. ได้จาก: URL: http://www.energy.go.th/energy-strategic.html. 15 มกราคม 2561
7. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. 2561. อุปสงค์อุปทานการผลิตเอทานอล. ได้จาก: URL: http://www.dede.go.th/dede/fileadmin/urs/ bers/gasohol_2008/510623_Demand_Supply.pdf 27 มกราคม 2561
8. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ. โครงการประหยัดไฟ กำไร 2 ต่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ กรุงเทพ; 2559
9. Cosmi C, Leo SD, Loperte S, Macchiato M, Pietrapertosa F, Salvia M, Cuomo VA. model for representing the Italian energy system: The NEEDS-TIMES experience, Renewable and Sustainable Energy Reviews 2007; 13(4): 763-766
10. สำนักงานพลังงานสากล. 2561. ก๊าซชีวภาพ: พลังงานทางเลือก. ได้จาก: URL: http://www.biotec.or.th/ biotechnology-th/newsdetail.asp?id=3307 3 มีนาคม 2561
11. Bazilian M, Welsch M. Smart and Just Grids: Opportunities for Sub‐Saharan Africa, Imperial London: College London; 2011.
12. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนขนาดเล็กมาก. กรุงเทพฯ: การไฟฟ้านครหลวง; 2560
13. ไทยออยล์, บริษัท จำกัด (มหาชน) สถานการณ์ราคาน้ำมัน. ได้จาก: URL: http://www.thaioil.co.th/ news/oilprice.php 24 มกราคม 2561
14. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน. 2561. ราคาน้ำมันวันนี้รายงานโดยส่วนปิโตรเลียม สนพ. ได้จาก: URL: http://www.eppo. go.th/retail_prices.html 8 มกราคม 2561
15. กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. รายงานพลังงานของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพลังงาน; 2560
16. Chris BL. 2010. Smart Grid for Dummies. Available from: URL: https://www.smartgrid.gov/files/Smart_ Grids_for_Dummies_201005.pdf October 20, 2015