การวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุบนถนนหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ระหว่างกิโลเมตรที่ 247 ถึง กิโลเมตรที่ 277 การวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุบนถนนหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 ระหว่างกิโลเมตรที่ 247 ถึง กิโลเมตรที่ 277

Main Article Content

siriporn darnkachatarn

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบและค้นหาจุดเสี่ยงบนถนนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 401 อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช  ระยะทางจากตำบลกลาย กม.247+100 ถึงตำบลท่าศาลา กม. 277+000  และเพื่อศึกษาการรับรู้ความเสี่ยงของปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุทางถนน ผลการศึกษาพบว่า จากอุบัติเหตุย้อนหลัง 3 ปีระหว่างปี 2558-2560 มีการเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 137 ครั้ง มีผู้เสียชีวิต 14 ราย บาดเจ็บ142 ราย  มีจุดเสี่ยงทั้งหมด 19 จุด ลักษณะของถนนที่เกิดอุบัติเหตุมากที่สุดเป็นถนนทางตรง จำนวน 47 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 34.31  ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุพบว่าลักษณะการชนส่วนใหญ่เป็นแบบมีคู่กรณี จำนวน 84 ครั้ง (61.31%)  ส่วนใหญ่สภาพอากาศที่เกิดอากาศปกติ จำนวน 108 ครั้ง (78.83%)  ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุเป็นช่วงเวลากลางวันมากที่สุดจำนวน  145 ครั้ง (61.90%) เกิดขึ้นกับรถจักรยานยนต์สูงสุดซึ่งเกิดจำนวนทั้งหมด 113 คัน  คิดเป็นร้อยละ 48.50  การรับรู้ความเสี่ยงของปัจจัยการเกิดอุบัติเหตุทางถนนจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 400 คน ในอำเภอท่าศาลา พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีอายุ ระหว่าง 21 –30 ปี จำนวน 141 คน (35.3%)  โดยใช้จักรยานยนต์เป็นยานพาหนะในการเดินทางมากที่สุด จำนวน 113 คน  ร้อยละ 48.50  ช่วงเวลาที่ใช้ถนนมากที่สุดคือ เวลาเร่งด่วน (07.00-8.00 และ 15.00-16.00) ส่วนใหญ่ใช้เส้นทางมากกว่า 10 ครั้งต่อสัปดาห์ และใช้ความเร็วประมาณ 80-90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  การรับรู้ปัจจัยความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ปัจจัย ด้านคน ปัจจัยด้านถนน/สิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านสภาพรถ  มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ความเสี่ยงอยู่ในระดับสูง


             จากการศึกษาครั้งนี้เสนอแนวทางในการแก้ไขจุดเสี่ยง ควรสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนและอาสาสมัครในพื้นที่ต่างๆให้มากขึ้นเพื่อเป็นผู้ให้ข้อมูลจุดเสี่ยง  บริเวณโค้งในถุ้งที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้งควรติดตั้งอุปกรณ์ราวกันชน เพื่อป้องกันการชนเสาไฟฟ้าริมทางหลวง และมีการเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดอุบัติเหตุทางถนน


คำสำคัญ: การวิเคราะห์อุบัติเหตุ  จุดเสี่ยง  การรับรู้ความเสี่ยง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เอกสารอ้างอิง
1. World Health Organization. Road Traffic Injury Prevention Training Manual 2006. [serial online] Available from: https://apps.who. int/iris/bitstream/handle/10665/43271/9241546751_eng.pdf;jsessionid=A6657824A18C47DF2E24356A31D0FBD0?sequence=1. Accessed Apr 19, 2019
2. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง สาธารณสุข. (2559) สถานการณ์แนวโน้มการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 2559. [สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2562]; จาก: http:// www.otp. go.th/uploads/tiny_uploads/PDF/2560-10/2560 1018 -Safty2559.pdf
3. กรมทางหลวง. คู่มือการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนทางหลวง. กรุงเทพฯ: กระทรวงคมนาคม; 2549.
4. กรมทางหลวง. (2551) ผลการศึกษามูลค่าความเสียหายของอุบัติเหตุในประเทศไทย. [สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2561]; จาก: http://trsl. thairoads.org/FileUpLoad/1230/131208001230.pdf
5. AUSROADS. Road Safety Audit. New South Wales: Australia; 2002.
6. มูลนิธิไทยโรดส์และศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. รายงานสถานการณ์อุบัติเหตุแห่งประเทศไทย. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย; 2554.
7. ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน.(2562) ข้อมูลรับแจ้งเหตุทางถนน. [สืบค้นเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2562]; จาก: http://www.thairsc.com/
8. Yamane, Taro. Statistics An Introductory Analysis. New York: Harper and Row Publications; 1973.
9. กฤษณ์ เจ็ดวรรณะ และคณะ. ลักษณะการชนและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุของรถโดยสารประจำทางขนาดใหญ่ระหว่างจังหวัดประเภทรุนแรง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. 2555.
10.พงษ์สิทธิ บุญรักษา และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถจักรยานยนต์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. 2555
11. Gourav Goel, S.N. Sachdeva. Analysis of road accidents on NH1 between RD 98 km to 148km. Perspectives in Science 2016; 8:392-394.
12. Chattranusorn A., Witchyangkoon B. American Transaction on Engineering & Applied Sciences 2014; 3(3):215-222.