ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาว

Main Article Content

อธิกา จารุโชติกมล
ปวิตรา พูลบุตร
จริยาพร เพริศแก้ว
ปวีณ์สุดา สามสี
รุ้งนภา ปาพรม
ศิวากรณ์ แดนรักษ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

มะรุมเป็นพืชในวงศ์ Moringaceae มีการนำมาเป็นอาหารและใช้เป็นยาตามภูมิปัญญาท้องถิ่นพื้นบ้านในประเทศเขตร้อน การศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่า สารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ลดระดับไขมันและลดระดับนํ้าตาลในเลือดได้ อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์ดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด เมื่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันมีความเกี่ยวข้องกับเมตะบอลิสมของไขมันและนํ้าตาล การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยนํ้าและสกัดด้วยเอทานอล ต่อการสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาวพันธุ์ Wistar เพศผู้ โดยแบ่งหนู 16 ตัวออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 8 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารที่แตกต่างกัน 2 ชนิด คือ อาหารปกติ (normal pellet diet; NPD) และอาหารไขมันสูง (high fat diet; HFD) เป็นระยะเวลา3 สัปดาห์ จากนั้นตัดแยกเนื้อเยื่อไขมันบริเวณอัณฑะมาเตรียมเซลล์ไขมันโดยใช้วิธีการย่อยด้วยเอนไซม์ collagenase ทดสอบสารสกัดใบมะรุมที่ความเข้มข้นต่างๆ โดยทำการทดลองทั้งในสภาวะที่ไม่มี isoprenaline (basal lipolysis) และมี isoprenaline(0.1 μM; ISO-induced lipolysis) และทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 37 oC เป็นเวลา 2 ชั่วโมง การสลายไขมันของเซลล์ไขมันแสดงด้วยค่าความเข้มข้นของกรดไขมันอิสระที่เกิดขึ้นใน incubation media พบว่า สารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยนํ้าที่ความเข้มข้น 1 และ3 mg/mL เพิ่มการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n = 4) ที่สภาวะ basal lipolysis ทั้งในกลุ่มหนู NFD และHFD และเป็นที่น่าสนใจคือ สารสกัดด้วยนํ้าที่ความเข้มข้น 0.3 และ 1 mg/mL มีฤทธิ์ยับยั้งการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n = 4) ที่สภาวะ ISO-induced lipolysis ทั้งในกลุ่มหนู NFD และ HFD ในขณะที่สารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยเอทานอลเฉพาะที่ความเข้มข้นสูงสุด คือ 3 mg/mL ที่เพิ่มการสลายไขมันได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05; n = 4) ที่สภาวะbasal lipolysis ในกลุ่มหนู NFD แต่ไม่มีผลในกลุ่มหนู HFD อีกทั้งสารสกัดใบมะรุมที่สกัดด้วยเอทานอล ก็ไม่มีผลกับเซลล์ไขมันในสภาวะ ISO-induced lipolysis ในหนูขาวทั้งสองกลุ่ม ฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมต่อการสลายไขมันที่เกิดขึ้นนี้อาจมีความเกี่ยวข้องกับกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมในการลดระดับไขมันและระดับนํ้าตาลในเลือด อย่างไรก็ตามกลไกการออกฤทธิ์ของสารสกัดใบมะรุมยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมต่อไป

คำสำคัญ: มะรุม สารสกัดใบที่สกัดด้วยนํ้า สารสกัดใบที่สกัดด้วยเอทานอล การสลายไขมันในเซลล์ไขมันจากหนูขาว

 

Abstract

The Moringa oleifera Lam. (MOL), plant in the family Moringaceae, is traditionally used as food or folk medicine intropical areas. It has been demonstrated in animal models that the leaf extract of MOL has hypocholesterolemicand antidiabetic activities. However, its mechanism of action has not been reported clearly. Adipocyte lipolysisplays an important role in regulating lipid and glucose metabolism. The objective of this study was to investigate theeffects of the aqueous and ethanol extract of MOL leaves on rat adipocyte lipolysis. Sixteen male Wistar rats were divided into two groups with eight rats in each. Each group was fed with two different types of diet (normal pellet diet;NPD or high fat diet; HFD) for 3 weeks. Adipocytes were isolated and prepared from the rat epididymal fat pads byusing the collagenase digestion method. The adipocyte suspensions were treated with various concentrations of theextract both in the absence (basal lipolysis) or the presence of isoprenaline (0.1 μM; ISO-induced lipolysis) at 37 oC for2 hr. The level of the adipocyte lipolysis was indicated by the concentrations of free fatty acid (FFA) in the incubationmedia. The aqueous leaf extract of MOL at the concentrations of 1 and 3 mg/mL signifi cantly (p<0.05; n=4) increasedthe basal lipolysis both in the adipocytes derived from NPD-fed rats and HFD-fed rats, when compared to controls.Interestingly, the aqueous leaf extract of MOL at the concentrations of 0.3 and 1 mg/mL produced a signifi cant (p<0.05;n=4) inhibitory effect on ISO-induced lipolysis in the adipocytes derived both from NPD- fed rats and HFD-fed rats. Onthe other hand, the ethanol leaf extract of MOL only at the highest concentration of 3 mg/mL signifi cantly (p<0.05; n=4)increased the basal lipolysis in the adipocytes derived from NPD-fed rats. However, no signifi cant difference was foundin the adipocytes derived from HFD-fed rats. Moreover, the ethanol leaf extract could not produce a signifi cant effecton ISO-induced lipolysis in the adipocytes derived both from NPD-fed rats and HFD-fed rats. The lipolytic regulatingeffect of the MOL leaf extract may probably be related to the therapeutic actions of the MOL extract on dyslipidemiaand diabetes. However, their mechanism is still unclear. Further studies on their mechanism of actions are thus needed.

Keyword: Moringa oleifera, leaf aqueous extract, leaf ethanol extract, rat adipocyte lipolysis

Article Details

บท
Original Articles